19 เมษายน 2556

เกมสนุกเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อย(ตอนที่3)


เกมสนุกเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการของลูกน้อย(ตอนที่3)

ครอบครัวของเรา(อายุ 4 ขวบ ขึ้นไป)

การให้ลูกหัดเขียน"แผนผังของตระกูล" จะช่วยให้ลูกเข้าใจ เรื่องโครงสร้าง
-วาดวงกลมแทนตัวเด็กแต่ละคนลงบนด้านล่างของกระดาษแผ่นใหญ่
-บอกให้ลูกวาดรูปของตัวเองและพี่น้องลงในวงกลมแต่ละวง หรือจะเอารูปถ่ายมาติดแทนก็ได้ถ้าลูกต้องการ
-ลากเส้นโยงขึ้นไปเหนือวงกลมของลูก แขนวงกลมใหม่สองวงแทนตัวคุณทั้งสอง (พ่อและแม่) และคุณลุงคุณป้า จากนั้นให้ลูกวาดรูปลงไป
-จากวงกลมของแม่ ลากเส้นโยงขึ้นไปเขียนวงกลมอีกสองวงสำหรับคุณตาคุณยาย และทำแบบเดียวกันกับวงกลมของพ่อคือคุณปู่ คุณย่า แล้ววาดรูปลงไป
-สุดท้าย เขียนชื่อของทุกคนในครอบไว้ใต้รูป





ผลการวิจัย

"เวลาตื่นตัว คนเราจะเรียนรู้ได้ดีกว่ายามง่วงเหงาหาวนอน หรือตื่นเต้นเกินไป"
การกระตุ้นเด็กมากหรือน้อยเกินไป ไม่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้เร็ว การเล่นสนุกและการหัวเราะต่างหากที่ช่วยกระตุ้นให้เราหลุดพ้นจากความกลัว อีกทั้งยังเป็นจังหวะให้เด็กรู้จักรับเรื่องราวใหม่ๆได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุผลดังกล่าว เกมต่างๆ ที่อาจดูน่าขัน หรือการพลิกแผลงการละเล่นแบบเดิมๆ จึงช่วยให้เด็กอยู่ในภาวะเรียนรู้ที่เหมาะสม

เกมเรื่องเล่าจุ๊กจิ๊ก(อายุ 5 ขวบ ขึ้นไป)

นึกถึงของ3 อย่าง แล้วผูกโยงเป็นเรื่องเล่า
-ให้ลูกคิดอะไรก็ได้ขึ้นมา 3 อย่าง เช่น หมา กระเป๋า และขนมปังกรอบ
-จากนั้นช่วยกันแต่งเรื่องโดยใช้ของใช้ทั้ง 3 อย่าง ในเนื้อเรื่องด้วย คุณอาจจะเปิดเรื่องด้วยการเล่าว่า "กาลครั้งหนึ่งน้องหมาตัวหนึ่งเห็นกระเป๋าตกอยู่ที่ป้ายรถเมล์...."
-ลูกอาจเสริมต่อว่า "กระเป๋าใบนี้มีกลิ่นหอม น้องหมาจึงยืนจมูกเข้าไปในกระเป๋าและพบว่ามีขนมปังกรอบชิ้นใหญ่อยู่"
-คุณอาจจะเล่าต่อว่า"เป็นขนมปังกรอบที่น่ากินมาก น้องหมาจึงกินขนมปังกรอบจนหมดในเวลาอันรวดเร็ว"
-ลูกของคุณอาจจะจบเรื่องว่า "และป้าขี้โมโหคนหนึ่งก็ออกมาไล่น้องหมา จนหนีกระเจิง"


เกมผลัดกันเล่า(อายุ 5 ขวบขึ้นไป)

          ถ้าจะเล่นให้สนุกเต็มที่ควรมีเด็กสัก 2 คน ขึ้นไป ทุกคนจะได้แต่งเรื่องต่อๆ กัน
-เริ่มเกมโดยคุณเล่าเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น เช่น "ในคืนหนึ่งที่มือครึ้มและหวีดหวิวด้วยลมพายุ พ่อมดน้อยตนหนึ่งมาเคาะประตูหน้าบ้านฉันเสียงดัง ช่วยด้วย เขาตะโกน ข้ากำลังถูกตามล่าโดย..."
-ให้ลูกเล่าเรื่องต่อจากคุณ โดยอาจจะเล่าว่า "โดยสัตว์ประหลาดที่ชอบกินพ่อมดตัวเล็กๆเป็นอาหาร ทางเดียวที่จะหยุดมันได้คือ....."
-ให้เด็กคนถัดไปเล่าต่อ เช่น.."ร้องเพลงเพราะๆให้มันฟัง ซึ่งเพลงนั้นก็คือ....."จากนั้นให้เด็กอีกคนเล่าต่อ
-ทุกคนในวงต้องเล่าเรื่องหาทางจบเรื่องให้ได้ หรือไม่ก็จนกว่า"นิทานแต่งเอง"เรื่องนี้จะเตลิดเปิดเปิงกู่ไม่กลับ


 ผลการวิจัย
"เด็กเล็กๆ ยังปะติดปะต่อเหตุการณ์ต่างๆ ให้เป็นเรื่องราวไม่ได้ "
ความยุ่งยากดังกล่าวอาจเนื่องจากฮิบโปแคมปัส ซึ่งเป็นสมองส่วนควบคุมกระบวนการความจำ และเป็นสมองหนึ่งในส่วนสุดท้ายที่มีการพัฒนา การเล่านิทานสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้ และจะยิ่งวิเศษ ถ้าให้ลูกเป็นส่วนหนึ่งในนิทานเรื่องนั้นด้วย


ที่มา   brain games for preschoolers

        Jane Kemp  Clare Walters เขียน

        ปรียาธร พิทักษ์วรรัตน์ และเมตไตรย ศรีทอง แปล


0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels