12 เมษายน 2557

จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่



จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่

        โรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย  อาการของโรคภูมิแพ้ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น
        -  ถ้าเป็นที่ตา เรียกว่า โรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis)
        -  ถ้าเป็นที่จมูก เรียกว่า โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือโรคแพ้อากาศ
        -  ถ้าเป็นที่หลอดลม เรียกว่า โรคหลอดลมอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคหืด (asthma)
        -  ถ้าเป็นที่ผิวหนัง เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis)
        -  ถ้าเป็นที่ระบบทางเดินอาหาร เรียกว่า โรคแพ้อาหาร (food allergy)
        ดังนั้นถ้าท่านมีข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อต่อไปนี้ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (allergy skin test):วิธีสะกิด (skin prick test)












      การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (allergy skin test):วิธีฉีดเข้าในผิวหนัง (intradermal test)


  1) มีอาการ และ/หรือ อาการแสดงที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ที่ระบบต่างๆ โดยเป็นมานานมากกว่า 1 เดือนขึ้นไป เช่น
        - ถ้ามีอาการ คันและเคืองตา  ตาแดง  น้ำตาไหล  หนังตาบวม  แสบตา อาจเป็นอาการของโรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis)
        - ถ้ามีอาการจาม  คันจมูก  น้ำมูกไหลออกมาทางจมูก หรือไหลลงคอ  คัดจมูก  คันเพดานปากหรือคอ อาจเป็นอาการของโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือโรคแพ้อากาศ
        - ถ้ามีอาการ ไอ หอบเหนื่อย หายใจขัด แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หายใจลำบากหรือหายใจเร็ว โดยเฉพาะเวลาตอนกลางคืน  ตอนเช้ามืด หรือขณะออกกำลังกาย  หรือขณะเป็นไข้หวัด อาจเป็นอาการของโรคหลอดลมอักเสบภูมิแพ้ หรือโรคหืด (asthma)
        - ถ้ามีอาการ คัน  มีผดผื่นตามตัว  ผื่นมักแห้ง แดง มีสะเก็ดบางๆ หรือมีน้ำเหลืองแห้งกรังปกคลุมอยู่  ในเด็กเล็ก มักเป็นที่แก้ม, ก้น, หัวเข่าและข้อศอก  ในเด็กโตมักเป็นที่ข้อพับของแขนและขา  ในรายที่เป็นเรื้อรัง ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะหนาตัวขึ้นและมีสีคล้ำขึ้น  ผิวหนังอาจมีการอักเสบเป็นตุ่มนูนคัน หรือใหญ่เป็นปื้นนูนแดง และคันมากที่เรียกว่า ลมพิษ  ซึ่งมักจะเกิดจากการแพ้อาหาร โดยเฉพาะอาหารทะเล หรือ แพ้แมลงกัดต่อย หรือแพ้ยา อาจเป็นอาการของโรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ (atopic dermatitis)
        - ถ้ามีอาการ อาเจียน  คลื่นไส้  ท้องเสีย ปากบวม  ปวดท้อง  ท้องอืด อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ (เช่น หอบหืด, แพ้อากาศ) และผิวหนัง (เช่น ผื่นคัน, ลมพิษ) ร่วมด้วย  หลังรับประทาน นมวัว ไข่ ถั่ว อาหารทะเล  ผักและผลไม้บางชนิด ผงชูรส สารกันบูด สารแต่งกลิ่นและสี อาจเป็นอาการของ โรคแพ้อาหาร (food allergy)
         2)  อาการดังกล่าวในข้อ 1 มักจะมีอาการ เป็นๆ (มีเหตุมากระตุ้น) หายๆ (ไม่มีเหตุมากระตุ้น) เมื่อผู้ป่วยมีอาการ ต้องมีเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดอาการนำมาก่อน เช่น
        - ความเครียด, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, อารมณ์เศร้า, วิตก, กังวล, เสียใจ(สำหรับโรคภูมิแพ้ ทุกประเภท)
        - ของฉุน, ฝุ่น,  ควัน,  อากาศที่เปลี่ยนแปลง, การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ  หรือ หวัด (สำหรับโรคภูมิแพ้ของตา จมูก และหลอดลม), อาหารบางชนิด (สำหรับโรคภูมิแพ้ ทุกประเภท)
         - การติดเชื้อที่ตา, ผิวหนัง หรือระบบทางเดินอาหาร (สำหรับโรคภูมิแพ้ของตา, ผิวหนัง และ ระบบทางเดินอาหาร)
        - สิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนัง  เช่น  ของฉุน  ฝุ่น  ควัน  แดด  เหงื่อ  การเกา หรือการนวด  ขัดผิวหนัง  สบู่  ครีม  หรือเครื่องสำอางใด ๆที่แพ้ (สำหรับโรคภูมิแพ้ของผิวหนัง)
 และอาการดังกล่าวจะดีขึ้นเองหลังหมดเหตุดังกล่าว หรือดีขึ้นหลังได้รับยา เช่น
         - เมื่อมีอาการทางตา   อาการจะดีขึ้นหลังได้รับยาหยอดตาแก้แพ้ และ /หรือ รับประทานยาแก้แพ้  (ยาต้านฮิสทามีน)
        - เมื่อมีอาการทางจมูก อาการจะดีขึ้นหลังได้รับประทานยาแก้แพ้  
        - เมื่อมีอาการทางหลอดลม  อาการจะดีขึ้นหลังได้รับการสูดยา หรือพ่นยาขยายหลอดลม  เข้าหลอดลมและ / หรือ รับประทานยาขยายหลอดลม
        - เมื่อมีอาการทางผิวหนัง   อาการจะดีขึ้นหลังได้รับการทายาสเตียรอยด์ และ /หรือ รับประทานยาแก้แพ้
        - เมื่อมีอาการทางเดินอาหาร   อาการจะดีขึ้นหลังได้รับประทานยาแก้แพ้ และ /หรือ ยาแก้คลื่นไส้/ อาเจียน  หรือยาแก้ท้องเสีย
         3) ผู้ป่วยอาจมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ (เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้, โรคแพ้อากาศ, โรคหืด, โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้) ในสมัยเด็ก หรือในปัจจุบัน เนื่องจากโรคภูมิแพ้ เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย
         4) ผู้ป่วยอาจมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ [เช่น โรคเยื่อบุตาอักเสบภูมิแพ้, โรคแพ้อากาศ, โรคหืด, โรคผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ หรือที่เรียกว่ากลุ่มโรคอะโทปี (atopic diseases or atopy)] เนื่องจากโรคภูมิแพ้ดังกล่าวมีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้


เมื่อแพทย์สงสัยว่าท่านอาจเป็นโรคภูมิแพ้  นอกเหนือจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว  แพทย์อาจส่งตรวจพิเศษ เพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรค  และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้  เช่น
        1) การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (allergy skin test) คือการนำน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ที่มีอยู่ในอากาศ เช่น ฝุ่นบ้าน  ตัวไรในฝุ่น  แมลงสาบ  เกสรหญ้า  วัชพืช  เชื้อรา เป็นต้น มาทำการทดสอบที่ผิวหนังของผู้ป่วย เพื่อให้ทราบว่าแพ้สารใด  วิธีนี้เป็นวิธีที่ช่วยในการวินิจฉัยโรคภูมิแพ้ ที่มีความไวและความจำเพาะสูง  ทำง่าย และราคาไม่แพง  สามารถทราบผลได้ทันที ผู้ป่วยสามารถเห็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เกิดขึ้นด้วยตาของตนเอง  มี 2 วิธีคือ
        -  วิธีสะกิด (skin prick test)  เป็นการทดสอบโดยหยดน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ลงบนผิวหนังที่แขน และใช้เข็มสะกิดตรงกลางหยดน้ำยา เพื่อเปิดผิวหนังชั้นบนออก  ถ้าผู้ป่วยแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้นั้น ก็จะเกิดปฏิกิริยาขึ้นโดยเกิดรอยนูน (wheal) และ ผื่นแดง (flare)  สามารถอ่านผลได้ในเวลา 20 นาที หลังการทดสอบ วิธีนี้ทำง่าย, เร็ว, ไม่เจ็บและใช้อุปกรณ์น้อย เสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายน้อย
        -  วิธีฉีดเข้าในผิวหนัง (intradermal test)   เป็น การฉีดน้ำยาสกัดจากสารก่อภูมิแพ้เข้าในชั้นผิวหนังให้เกิดรอยนูนเป็นจุดเล็กๆ  สามารถอ่านผลในเวลา 20 นาที  หลังฉีดโดยวัดขนาดของรอยนูนที่ขยายใหญ่ขึ้น  วิธีนี้ทำยากกว่า  เสียเวลามากกว่า เจ็บกว่า และต้องใช้อุปกรณ์มากกว่า และเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ทั่วร่างกายได้มากกว่า
        2)  การหาปริมาณสารเคมีในเลือด ที่เรียกว่าอิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) ชนิดที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้แต่ละชนิด (specific IgE)  วิธีนี้เป็นที่นิยมในต่างประเทศ  เนื่องจากไม่เสี่ยงต่ออาการแพ้ทั่วร่างกาย, ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดยาแก้แพ้ก่อนตรวจ,ไม่ต้องใช้เวลาของผู้ป่วยนานในการทดสอบ  ไม่เหมือนการทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง  ทำให้สะดวก เพียงแค่เจาะเลือด 1 ครั้ง  หาสารที่ผู้ป่วยแพ้ได้หลายชนิด  แต่ในประเทศไทยไม่นิยมใช้  เนื่องจากมีราคาแพง และไม่ทราบผลในทันที

ที่มา    รศ.นพ. ปารยะ   อาศนะเสน
         ภาควิชาโสต  นาสิก  ลาริงซ์วิทยา
         Faculty of Medicine Siriraj Hospital
         คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ทางเลือกใหม่ที่ทุกคนใช้แล้วมีผลตอบรับดีมากๆ สุขภาพที่ดีไม่ใช่จะต้องดูแลแค่ภายนอก ต้องดูแลภายในด้วย แนะนำสมุนไพรพลูคาว 100% สกัดจากใบพลูคาวที่จะช่วยยับยั้งทำลายเชื้อไวรัส และเซ็ลล์มะเร็ง เชื้อ Hiv หูดหงอนไก่ สเก็ดเงิน ริดสีดวง เบาหวาน ไต ไทรอย ไวรัสตับอักเสบบี อัมพฤกษ์ อัมพาต หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ภูมิแพ้ โรคพุ่มพวง ไซนัส
อยากหายจากการป่วยที่เรื้อรังไว้ใจเราครับ
ผ่าน อย. และได้รับรางวัล ผลิตภัณฑ์ดีเด่นแห่งปี 2558 ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายของเราให้มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่างๆที่จะมาทำลายสุขภาพของเรา
สอบถามเพิ่มเติม tel. 0959279523 ID line. Aofaudio0502 และ aofwasan0502
สอบถามผ่านไลน์ก่อนได้ครับ อย่ามัวแต่อายครับสอบถามมาก่อนได้

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels