21 สิงหาคม 2557

ถึงหนูจะเด็ก แต่กระดูกก็แข็งแรงนะ

ถึงหนูจะเด็ก แต่กระดูกก็แข็งแรงนะ 

หนูยังเด็ก กระดูกแข็งแรง เรื่องกระดูกพรุน ลืมไปได้เลย แหม ! อย่าเพิ่งมั่นใจไปนะคะ เพราะกระดูกท่อนเล็ก ๆ ของหนู ๆ ก็มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้เหมือนกัน แต่จะเพราะอะไร และมีวิธีป้องกันหรือไม่ คำตอบรออยู่แล้วค่ะ

การเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงในเด็กและวัยรุ่น

            ร่างกายของเด็กและวัยรุ่นที่กำลังเจริญเติบโตต่างต้องการแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพื่อนำไปเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ความแข็งแรงของกระดูกขึ้นกับปริมาณมวลกระดูก (bone mass) ซึ่งร่างกายจะสะสมมวลกระดูกได้มากที่สุดในช่วงเด็กและวัยรุ่น ถ้าเด็กและวัยรุ่นสามารถสะสมมวลกระดูกได้อย่างพอเพียง ก็จะลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่หรือวัยสูงอายุได้ เพราะเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ การสลายกระดูกจะเกิดในอัตราที่เร็วกว่าการสร้างกระดูกใหม่ ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลงเรื่อย ๆ








ตัวอย่างของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน

               - รูปร่างผอมเปราะบางเพราะขาดอาหาร หรือเป็นโรคเรื้อรัง
               - มีภาวะการดูดซึมอาหารทางกระเพาะอาหารหรือลำไส้ผิดปกติ
               - ขาดวิตามินดี
               - ได้รับยาบางชนิด เช่น เสตียรอยด์
               - เด็กที่เข้าสู่วัยรุ่นช้ามาก
               - ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตหรือฮอร์โมนเพศ

ส่งเสริมกระดูกให้แข็งแรงง่าย ๆ ...
               - กินอาหารที่มีแคลเซียมในปริมาณพอเหมาะกับความต้องการของร่างกาย
               - ลดอาหารที่เพิ่มการสูญเสียแคลเซียมจากร่างกาย
               - ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะควรเล่นกีฬาที่ช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก อาทิ วิ่งเหยาะๆ เทนนิส

ตัวอย่างอาหารแคลเซียมสูง
ชนิดอาหาร                                     ปริมาณแคลเซียม                               (มิลลิกรัม)
นม 1 กล่อง(250 ซี ซี)                                       300

โยเกิตธรรมชาติ 1 ถ้วยเล็ก(125 มก.l)                    200

นมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม 1 แก้ว(200 ซี ซี)          368


ผักใบสีเขียวเข้ม เช่น คะน้า ตำลึง ยอดแค1.5 ถ้วย    300

ยอดสะเดาใบคะน้าสุก 3 ถ้วย หรือดอกบรอคโคลี่               
ปลาตัวเล็ก ๆ ปลาจาระเม็ดทอดกรอบ ปลาซาร์ดีน
ปลาป่น กุ้งแห้ง กุ้งฝอย ปลาป่น 2 ช้อนโต๊ะ            357
ตัดออก 170

งาดำคั่ว1.5 ช้อนชา                                          72


ในแต่ละวัน คนแต่ละวัยต้องการแคลเซียมแตกต่างกัน
               - เด็กอายุ 1-9 ปี 800 มิลลิกรัม
               - วัยรุ่นหญิงและชาย อายุ 10-19 ปี 1,200 มิลลิกรัม
               - ผู้ใหญ่ ตัดออก 800 มิลลิกรัม
               - หญิงมีครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร 1,000 มิลลิกรัม
               * ข้อมูล : จากกรมอนามัย ปี 2532


ตัวการขัดขวางการนำแคลเซียมไปใช้
               - เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
               - แอลกอฮอลล์
               - อาหารที่มีเกลือโซเดียมสูง อาหารเค็มจัด เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว

            เด็กและวัยรุ่นเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโตและเป็นวัยที่สะสมมวลกระดูกไว้มากที่สุด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักเลือกอาหาร และดูแลให้บุตรของท่านได้สารอาหารที่มีประโยชน์ รวมทั้งแคลเซียมต่อวันในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตสมวัย และมีกระดูกและฟันที่แข็งแรง เด็กที่มีปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถได้รับแคลเซียมตามปริมาณที่ควรจะได้รับในแต่ละวัน ควรได้แคลเซียมทดแทน ซึ่งมีหลายชนิด แต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการดูดซึมและปริมาณ Elemental calcium แตกต่างกันไป ควรปรึกษาแพทย์ก่อนถึงขนาดพอเหมาะที่ควรใช้ การได้รับแคลเซียมมากเกินไป อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้
            เราลองมาประเมินกันสิคะว่าตัวเราและคนที่เรารัก ได้รับปริมาณแคลเซียมเหมาะสมหรือไม่ เพื่อจะได้มีกระดูกที่แข็งแรงไม่เปราะง่ายก่อนวัยอันควร ที่สำคัญอย่าลืมออกกำลังกายให้สม่ำเสมอนะคะ


 ที่มา         ผศ.พญ.ไพรัลยา สวัสดิ์พานิช
สาขาต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิสม 
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels