20 พฤศจิกายน 2557

เด็กกินยาก

เด็กกินยาก

            “เด็กกินยากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งพ่อแม่เครียดและกังวลใจมาก เนื่องจากจะพยายามทุกทาง เพื่อให้ลูกรับประทานอาหารเป็นผลให้เด็กต่อต้านมากขึ้น ปัญหาก็จะรุนแรงและเรื้อรังยิ่งขึ้น
 “เด็กกินยากพบได้ในเด็กทั่วไปร้อยละ 3-5 มักอยู่ในวัย 1-6 ปี เด็กมักจะมีอาการดังนี้ คือรับประทานอาหารช้า อมข้าว หรือร้องไห้อาละวาด ไม่ยอมกิน บ้วนทิ้ง หรืออาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วออกมา พ่อแม่จะมีลักษณะตั้งแต่เคี่ยว เข็น คะยั้นคะยอ อ้อนวอน ให้สินบน สร้างเงื่อนไขกับเด็ก หรือบังคับลงโทษด้วยวิธีต่างๆ
ส่วนใหญ่เด็กจะได้รับอาหารต่อวันในปริมาณที่พอเพียง ในกรณีที่เด็กได้รับอาหารน้อยกว่าปกติและมีการเจริญเติบโตล่าช้า เด็กควรได้รับการตรวจประเมิน เพื่อหาและรักษาความเจ็บป่วยทางร่างกายและจิตใจโดยละเอียด












วิธีแก้ไขปัญหาการกินในเด็ก

1.      ฝึกเด็กตั้งแต่เริ่มต้น โดย

-ให้นั่งโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมพ่อแม่

-ไม่เปิดทีวีระหว่างรับประทานอาหาร

-ให้เวลารับประทานอาหารประมาณ 30 นาที ถ้าเด็กไม่รับประทาน เมื่อหมดเวลาให้เก็บอาหารไป

-ตักอาหารให้พอดีไม่มากเกินไป

-ระหว่างรับประทานอาหารให้พูดคุยแต่เรื่องดี

-อย่าบังคับให้เด็กรับประทานอาหารหรือลงโทษ เมื่อเด็กไม่รับประทานอาหาร

-เมื่อเด็กรับประทานอาหารได้ดีให้ชื่นชม หากทำได้ไม่ดีให้เพิกเฉย

-งดเว้นการรับประทานอาหารอื่นๆระหว่างมื้ออาหาร เช่น นม ขนม หรือของจุบจิบ เป็นต้น

2.      แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการกินในเด็ก ได้แก่

2.1 สาเหตุที่เกิดจากตัวเด็ก ได้แก่

-เด็กอายุประมาณ 1 ขวบจะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะต่อต้านหากถูกบังคับ

-ปริมาณอาหารมากเกินไป

-เด็กไม่ชอบรับประทานสิ่งนั้น เช่น ผัก ไม่ควรบังคับ แต่ควรดัดแปลงอาหารนั้นในรูปแบบต่างๆแล้วชักชวนให้เด็กลองรับประทาน

-เด็กขาดความอยากรับประทานอาหารเนื่องจากรับประทานขนมหรือนมระหว่างมื้อแล้ว

-เด็กมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น ถูกบังคับป้อนจนเจ็บปาก หรือบรรยากาศที่ไม่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น ถูกดุหรือถูกตี เป็นต้น

-ขณะที่รับประทานอาหารเด็กมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือมีปัญหาทางอารมณ์

2.2 แก้ไขสาเหตุที่เกิดจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู

-ลดความกังวลใจลงบ้างเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของเด็ก เช่น กังวลว่าเด็กจะมีน้ำหนักตัวน้อยหรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เพราะความกังวลนั้นส่งต่อไปให้เด็กได้ทำให้มีผลต่อการไม่รับประทานอาหารได้

-ให้เด็กได้มีโอกาสช่วยเหลือตัวเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารบ้าง เช่น ในเด็กที่เริ่มหยิบอาหารชิ้นเล็กลงหรือเอาช้อนใส่ปากได้ จะหกเลอะเทอะบ้างก็ไม่เป็นไร

3.      ปฏิบัติตามข้อ 1 และ ข้อ 2 อย่างสม่ำเสมอหากมีข้อสงสัยสามารถขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์หรือจิตแพทย์เด็กได้

วิธีป้องกันปัญหาเด็กกินยาก

1.      เริ่มให้อาหารเสริมในเวลาที่เหมาะสม (ประมาณ 4 เดือน)

2.      ฝึกสุขปฏิบัติในการกินให้เด็กตั้งแต่เริ่มต้น

 สรุป

ปัญหาเด็กกินอาหารยากเป็นปัญหาที่พบบ่อย ดังนั้นการดูแลและป้องกันปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้เด็กดีขึ้นได้ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาต่างๆตามมาได้ เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวและปัญหาด้านจิตใจ เป็นต้น เช่น เก็บกด ขี้กังวล


ที่มา   ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแห่งประเทศไทย


 แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

            วิฐารณ บุญสิทธิ. จิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์ (ฉบับปรับปรุง). ชวนพิมพ์ : กรุงเทพฯ, กุมภาพันธ์ 2538: 104-109.









0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels