5 มิถุนายน 2558

โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว

โกยคะแนนพิชิตใจกรรมการ!! เทคนิคการเขียน Essay อย่างง่ายและรวดเร็ว




ไม่ใช่เรื่องง่าย! สำหรับการเขียน Essay หรือการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษในฐานะนักเรียนไทยแม้แต่นักเรียนต่างชาติที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ คงส่ายหน้าปวดหัวอยู่เหมือนกัน เพราะการเขียน Essay ให้ถูกต้อง ตรงประเด็น และทำให้คนอ่านเข้าใจในบริบทที่เราต้องการสื่อสารนั้นไม่ใช่เรื่องหมูๆ จึงจำเป็นต้องใช้การสั่งสมด้วยการอ่านบทความ หนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และฝึกฝนการเขียนของเราให้สม่ำเสมอ วันนี้ Life on Campus จึงนำเทคนิคการเขียนเรียงความเพื่อเป็นเคล็ดลับดีๆ ให้กับน้องๆ ที่ต้องการฝึกฝนงานเขียนให้ถูกใจกรรมการโกยคะแนนการเขียนได้สบายๆ..



      
       โครงสร้างของการเขียน Essay ประกอบด้วย 3 ส่วน
      
       Introduction : ย่อหน้าแรกของ Essay ที่ใช้ในการเปิดเรื่อง หรือเป็นส่วนแรกของเรียงความที่จะบอกให้ผู้อ่านทราบเบื้องต้นว่าเรียงความนี้กล่าวถึงเรื่องอะไร มักจะไม่ใส่รายละเอียดมากนัก Introduction ที่ดีควรจะดึงดูดใจให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและทำให้เกิดความรู้สึกอยากรู้ว่าเนื้อหาต่อไปนั้นจะเป็นยังไง เรียกง่ายๆ ว่าทำให้ผู้อ่านอยากอ่าน Essay ของเราจนจบ สำหรับภายใน Introduction จะมี Thesis Statement ซึ่งเป็นประโยคสำคัญที่บอกให้ผู้อ่านทราบว่า Essay เรื่องนี้ต้องการจะกล่าวถึงอะไร

       Body : ส่วนของเนื้อความ เป็นส่วนที่รวมเนื้อหา ใจความสำคัญของเรียงความไว้ โดยจะเป็นส่วนที่ยาวที่สุดของเรียงความ โดยตัวเนื้อความสามารถเขียนได้หลายย่อหน้า ขึ้นอยู่กับข้อมูลเพิ่มเติมที่เราต้องการขยายความหรือยกตัวอย่างให้ผู้อ่านเข้าใจ

       Conclusion : บทสรุป เป็นการทบทวนและย้ำให้ผู้อ่านทราบว่าผู้เขียนต้องการสื่อสารอะไรให้ผู้อ่าน หรือเป็นการสรุปสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดให้ผู้อ่านทราบ โดยเนื้อหาเน้นรวบรวมใจความสำคัญจาก Introduction และ Body ที่ได้กล่าวมาแล้ว




สำหรับส่วนของเนื้อความหรือ Body จะมีหน้าที่หลักๆ คือการให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้อ่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือคล้อยตามกับเรียงความของเรามากขึ้น โดยจะประกอบด้วย 3 ส่วนย่อยคือ Topic Sentence, Supporting sentences และ Concluding sentences
      
       - Topic Sentence อยู่ส่วนแรกของของแต่ละ Body ซึ่งจะทำให้ผู้อ่านทราบว่าเนื้อความย่อหน้านี้จะกล่าวถึงคือเรื่องอะไร

       - Supporting sentences ทำหน้าที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือขยายความจาก Topic sentence รวมถึงการยกตัวอย่าง เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น

       - Concluding sentences เป็นการสรุปย้ำใจความสำคัญของย่อหน้าให้ผู้อ่านทราบอีกครั้ง
      
        สำหรับเทคนิคง่ายๆ ในการเขียน Topic sentence ที่ดีคือ ควรจะเขียนให้เป็น Simple sentence หรือประโยคความเดียว เพราะจะช่วยให้ประโยคมีความชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีข้อควรระวังในการเขียน Essay ที่ Life on Campus นำมาให้น้องๆ ได้อ่านกันเป็นข้อมูลในการเขียนเพื่อจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดทำให้เราโดนหักคะแนนได้ง่ายๆ นั้นเอง..

เขียนบทนำให้ดึงดูด อย่าสรุปทั้งหมดไว้ตั้งแต่เริ่ม!
      
        ในการอ่าน Essay คณะกรรมการมักจะใช้เวลาเพียงแค่ 1-2 นาทีเท่านั้น ดังนั้นบทนำของที่น้องๆ เขียนควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อ่านตั้งแต่เริ่มต้น และไม่ใช่เรื่องแปลกหากจะแก้บทนำใหม่หมดภายหลังจากที่เราเริ่มเขียนเนื้อหาของ Essay ที่สำคัญคืออย่าเขียนสรุปเนื้อหาทั้งหมดในบทนำ เพราะเท่ากับเป็นการเฉลยเนื้อหาไว้ตั้งแต่เริ่ม ทำให้ผู้อ่านไม่อยากอ่านเนื้อหาต่อๆ ไป หรือไม่มีความอยากรู้ที่จะติดตามตอนต่อไปนั้นเอง

      
        รวมไปถึงคณะกรรมการเองก็เช่นกัน หากการเขียนบทนำของน้องๆ คือการสรุปทั้งหมด คณะกรรมการก็ไม่มีความจำเป็นจะต้องอ่านเนื้อเรื่องที่เหลือของ Essay จึงควรสร้างความแปลกใจหรือสร้างความรู้สึกอยากติดตามชวนให้อ่านไว้ในบทนำ ด้วยการตั้งคำถามหรือประเด็นให้คณะกรรมการหรือผู้อ่านสนใจอ่าน Essay ของเราต่อไป รวมถึงทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามอารมณ์ความรู้สึกที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารด้วย
      
       
       เช็คหลักไวยากรณ์ให้ดีก่อนส่ง!
      
        เชื่อเถอะว่าชาวเอเชียส่วนใหญ่หรือแม้กระทั่งเด็กไทยมีความแม่นในการจำหลักไวยากรณ์อยู่แล้ว เรียกว่าโครงสร้างเป๊ะ ถาม Tenses ไหนตอบได้หมด หรืออาจเก่งแกรมม่ามากกว่าเจ้าของภาษาเสียอีก ดังนั้นการทำข้อสอบการเขียนสิ่งสำคัญหลักๆ คือการเขียนให้ถูกหลักไวยากรณ์ ผู้เขียนคนใดสามารถจดจำโครงสร้างและเข้าใจการใช้ได้ถูกต้องย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง
       
        Life on Campus จึงมีเทคนิคการตรวจสอบแกรมม่าที่เราเขียนใน Essay เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด นั้นคือการอ่านย้อนหลังจากประโยคสุดท้ายไล่ขึ้นไปถึงประโยคแรก เพื่อให้เราได้ตรวจสอบให้ดีทีละส่วน ทีละคำ ทีละประโยค เพื่อหาจุดผิดพลาดนั้นเอง เพราะผู้เขียนส่วนใหญ่หากอ่านประโยคแรกไล่ลงมาปกติแล้วมักคิดว่างานเขียนของเรายอดเยี่ยม แต่หากลองปรับ



ใช้ศัพท์ยาก..ไม่เข้ากับเนื้อหา
      
        สำหรับใครที่ชอบใช้งัดคำศัพท์ยากๆ งัดคำศัพท์สวยๆ อลังการมาใช้ในงานเขียน เพราะคิดว่ายิ่งใช้คำศัพท์ยากยิ่งแสดงให้เห็นถึงความเก่งและรู้สึกเหนือกว่าคนอื่นๆ แต่น้องๆ รู้หรือไม่ว่าการใช้คำศัพท์เหล่านั้นในการเขียนเรียงความ หรือใช้ในการเขียนโปรยบทนำให้ดูสวยหรู มันไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบเสมอไป เพราะหากน้องๆ ไม่มั่นใจว่าความหมายคืออะไร หรือไม่มั่นใจว่าจะเรียบเรียงอย่างไรในการเขียนประโยค อาจทำให้เนื้อหาที่จะสื่อสารกับผู้อ่านนั้นผิดเพี้ยนและอาจทำให้โดนหักคะแนนได้
      
        สำหรับเทคนิคการฝึกเขียน น้องๆ สามารถหัดเขียนด้วยตัวเองด้วยการตั้งหัวข้อที่อยากเขียนขึ้นมาสักหนึ่งหัวข้อ หรืออาจให้อาจารย์ที่โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมอบหัวข้อให้ลองฝึกเขียน เมื่อน้องๆ ลองเขียน Essay เสร็จนำไปให้อาจารย์ตรวจงานเขียนดู เพื่อจะได้คำแนะนำในการเขียน หรือหากพบจุดผิดพลาดใดๆ อาจารย์ก็สามารถช่วยเหลือและให้คำปรึกษากับเราได้ ถือเป็นการเพิ่มทักษะการเขียนของเราไปในตัวด้วย
      
       ลืมใส่แหล่งที่มา-แหล่งอ้างอิง
      
        ความจริงแล้วการเขียนเรียงความทางวิชาการไม่เหมือนกับการเขียนบล็อกหรือโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ค หากน้องๆ อ้างอิงถึงแต่สิ่งที่เพื่อนพูด หรือเขียนคำคมขึ้นมาลอยๆ อาจลดคุณค่าและความน่าเชื่อถือของเรียงความที่เขียนไปเลยก็ว่าได้ ยิ่งไปกว่านั้นการคัดลอกผลงานโดยไม่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาให้ถูกต้องเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
        ดังนั้นน้องๆ ต้องเรียนรู้ถึงวิธีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้ถูกต้อง เป็นทักษะที่ต้องมีและต้องทำ ซึ่งสามารถปรึกษาและขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่สอนภาษาอังกฤษ เรียนรู้จากเพื่อนร่วมชั้น หรือไม่ก็อ่านเรียงความทางวิชาการเยอะๆ ก็สามารถช่วยเพิ่มพูนทักษะนี้ได้เช่นกัน



  อ้างอิงข้อมูลจาก
       - http://www.usnews.com/education/
       - http://www.ieltsbuddy.com/ielts-essay.html
       - http://grammar.yourdictionary.com/writing/how-to-write-an-essay.html
       - http://www.torcheducation.com/?p=1567

ที่มา 

         โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   3 มิถุนายน 2558 17:20

0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels