23 พฤษภาคม 2556

สุขภาพเด็ก(2)


สุขภาพเด็ก
ร้องไห้ 3 เดือน
                   เสียงร้องไห้ของทารกเป็นสิ่งที่ทำให้ผุ้เกี่ยวข้องเกิดความกังวลว่าจะมีสิ่งที่ผิดปกติเกิดขึ้น พยายามที่จะเข้ามาช่วยเด็ก ถ้าแก้ไขสาเหตุได้ก็จะทำให้ทารกหยุดร้องได้แต่ในกรณีที่ไม่รู้สาเหตุและเด็กยังร้องอยู่สุดท้ายจะยิ่งทำให้พ่อแม่มีความวิตกกังวลสูงขึ้นเพราะไม่รู้ว่าจะช่วยลูกอย่างไร


สาเหตุของการร้องไห้
             1. หิว
             2. เหนื่อยเพลียอยากนอน
             3. จุก เนื่องจากกินนมเข้าไป และเรอออกไม่หมด
             4. รำคาญ เช่น ผ้าอ้อมเปียก ถุงมือรัดนิ้ว เป็นต้น
             5. เจ็บปวด เช่น ปวดท้อง ปวดหูจากหูอักเสบ มดกัด
             6. อ้อน อยากให้แม่อุ้ม
             7. ไม่ได้ดังที่ต้องการ เนื่องจากพ่อแม่ไม่เข้าใจ
             8. ติดเป็นนิสัย มักจะร้องในช่วงเวลาที่คาดเดาได้
             9. ได้รับความวิตกกังวล ถ่ายทอดมาจากผู้เลี้ยงดู
วิธีการช่วยเหลือ
              1. ศึกษาลักษณะของเด็ก และตอบสนองให้ตรงกับความต้องการโดยพยายามหาสาเหตุของการร้องไห้ว่าน่าจะเกิดจากอะไร เช่น  ถ้าเด็กจุกให้จับเรอเอาลมออกมา ถ้าผ้าอ้อมเปียกให้เปลี่ยนผ้าอ้อม  ถ้าร้องเพราะอ้อนอยากให้อุ้มและเล่นด้วย ก็ทำในสิ่งที่เด็กต้องการ การตอบสนองความต้องการของทารกในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต ทำทุกอย่างเท่าที่ทารกต้องการ จะเป็นการสร้างความรู้สึกผูกพัน และสร้างให้ทารกเรียนรู้ที่จะไว้ใจแม่ เท่ากับบอกว่าแม่สามารถช่วยเหลือและช่วยแก้ไขในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หลายคนเข้าใจผิดว่าการอุ้มเด็กทารกบ่อย ๆ จะทำให้ติดมือ ทารกติดกับการอุ้ม แต่ในความเป็นจริง เมื่อสภาพร่างกายที่พร้อมในการคืบคลาน เมื่ออายุ 7 – 8 เดือน ทารกทุกคนอยากคลานออกไปห่างแม่ เพื่อสำรวจสิ่งแวดล้อมและของเล่น แต่เมื่อมีคนแปลกหน้าเข้ามาใกล้ ๆ จนตกใจ หรือมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ทำให้ไม่แน่ใจในสถานการณ์รอบข้าง ทารกจะคลานกลับมาหาแม่ทันที เพียงแต่ขอให้คุณแม่อยู่ ณ จุดนั้นเสมอ เมื่อเด็กต้องการ แค่นี้คุณก็จะได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจจากเด็ก
               2. พบกุมารแพทย์ เพื่อช่วยตรวจหาความผิดปกติ  เช่น  หูอักเสบ ไม่สบาย ฯลฯ
               3. สร้างบรรยากาศสบาย ๆ และลดความวิตกกังวลในตัวของผู้เลี้ยงดูลง การที่มีคนหลายคนมาช่วยแบ่งเบาภาระของแม่ในการดูแลเด็ก รวมทั้งช่วยกันปลอบโยนเด็ก โดยการเปลี่ยนมือ เปิดเพลงเบา ๆ หรือถ้าเด็กร้องอยู่นานจนเหงื่อแตกก็ให้เช็ดตัว หรืออาบน้ำให้สดชื่น หรือพักการ้องให้ดูดน้ำเย็นชื่นใจ แล้วให้ร้องต่อไป เป็นต้น ทั้งหมดจะช่วยทำให้บรรยากาศดีขึ้น คุณแม่ก็มีเวลาคลายเครียด ลดความกังวลลง
                4. ทำใจไปกับเสียงร้องของลูก เมื่อตรวจไปไม่พบความผิดปกติ ก็คงต้องถือว่า การร้องไห้ของเด็กก็เท่ากับเป็นการออกกำลังกายบริหารปอดล่ะคะ ถึงแม้ว่าเด็กจะร้องไห้อยู่ ชั่วโมง ต่อวัน ก็ยังไม่ถือว่าผิดปกติ
ที่มา      สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี)

0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels