23 พฤษภาคม 2556

สุขภาพเด็ก


สุขภาพเด็ก
พูดช้า

          เด็กอายุ 8 – 10 เดือน จะเข้าใจความหมายของคำง่าย ๆ เช่น แม่ อย่า จุ๊จุ๊ ไม่เอานะ  เป็นต้น แต่ความสามารถในการพูดที่อายุ 1ปี ควรพูด 1 คำที่มีความหมายได้  ที่อายุ 2 ปี เด็กจะเข้าใจคำพูดประมาณ 25 – 50 คำ โดยสามารถพูดเป็นพยางค์ไดื เช่น ไปเที่ยว ไม่เอา กินข้าว ป่าป่ะ เป็นต้น และเมื่ออายุ 3 ปี เด็กจะเข้าใจคำพูดอย้างน้อย 250 คำ สามารถสร้างรูปประโยค มีประธาน กิริยา กรรม ได้ง่าย ๆ



สาเหตุที่เด็กพูดช้า
          1. ขาดการฝึกฝน ขาดคนเข้าไปเล่น ยิ้ม สบตา คุยกับเด็ก ถ้าส่วนใหญ่ของเวลาที่เด็กตื่น เด็กอยู่คนเดียว อาจมีพี่เลี้ยง หรือพ่อแม่คอยนั่งมองอยู่ห่าง ๆ ทำอย่างนี้ เลี้ยงวิธีการนี้ ภาษาพูดของเด็กจะไม่พัฒนาขึ้น
          2. ถูกละทิ้ง ละเลย ถูกขังไว้กับของเล่น พบได้ในครอบครัวที่มีธุระยุ่งมาก
          3. การได้ยินผิดปกติ เช่น  หูหนวก
          4. มีความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้การรู้การแปลความหมายสับสน เช่นปัญญาอ่อน
          5. โรคออทิสติก ซึ่งเป็นโรคที่มีความบกพร่องในด้านการพูด การเข้าสังคม และการเรียนรู้
          6. กรรมพันธุ์ พบได้น้อย โดยเฉพาะในเด็กผู้ชายที่ครอบครัวมีคนที่พูดได้ช้า เด็กจะมีความเข้าใจในคำศัพท์ได้เหมือนเด็กอื่น ๆ ทุกอย่าง

วิธีการช่วยเหลือ
          1. พาลูกไปพบกุมารแพทย์ เพื่อตรวจเช็คพัฒนาการทุกด้าน จากประสบการณ์ในการทำงานกับเด็ก ๆ พบว่าพ่อแม่จะเป็นบุคคลแรกที่ค้นพบว่าความสามารถของลูกต่ำกว่าเด็กอื่น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าคุณคือคนที่รักลูกอย่างจริงใจ ดังนั้นคุณจะเฝ้ามอง และเปรียบเทียบความสามารถของลูกกับเด็กอื่นอยู่แล้ว แต่ปัญหาที่คุณค้นพบนี้ คุณจะแก้ปัญหาโดยให้ใครเป็นคนช่วย เป็นที่น่าเสียดายที่พบว่าพ่อแม่ส่วนใหญ่มักนำปัญหาที่ลูกมีพัฒนากการช้านี้ไปปรึกษากับญาติ คนข้างบ้าน ที่มีระดับความรู้ต่ำในเรื่องของเด็ก และพัฒนาการในเด็ก จึงมักได้รับคำปลอบโยนว่า ไม่เป็นไรหรอก โตขึ้นก็จะทำได้เอง มากกว่าการที่ได้รับการค้นหาสาเหตุและรับฟังคำแนะนำอย่างเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ
          ส่วนใหญ่ของเด็กที่พ่อแม่พามาตรวจด้วยเรื่องเดินช้า พูดช้า ช่วยตัวเองได้น้อย ฯลฯ  มักจะตรวจพบว่ามีพัฒนาการช้าจริง ๆ และมักตรวจพบว่ามีพัฒนาการด้านอื่นช้าด้วย
          2. ในกรณีที่สงสัยว่ามีปัญหาการได้ยิน ควรตรวจการได้ยินทุกราย เพราะปัจจุบันเครื่องช่วยฟังสามารถช่วยเด็กให้ได้ยินเสียงและทำให้เด็กพูดตามออกมาได้ง่ายกว่า ในกรณีที่เด็กมีความบกพร่องในการรับรู้เสียง
          3. ฝึกพูดโดยนักอรรถบำบัด และฝึกกระตุ้นพัฒนาการในด้านอื่น ๆ ที่ช้าไปพร้อมกันโดยนักกระตุ้นพัฒนาการ
          4. ปรับสภาพแวดล้อมของเด็กให้เหมาะสม ถ้าคุณต้องการให้เด็กพูดได้ เด็กก็ต้องอยู่ท่ามกลางคนที่พูดกับเด็ก สบสายตา และมองหน้ามองตา คุยกันไป เล่นด้วยกันไปกับเด็ก อย่าปล่อยให้เด็กเล่นอยู่คนเดียวนาน ๆ
          5. พ่อแม่แบ่งเวลามาฝึกฝนเด็กด้วยตนเอง เพราะจะไม่มีใครอดทนกับลูกได้ดีเท่าพ่อแม่ การส่งเด็กไปให้ผู้เชี่ยวชาญฝึก ทำได้อย่างมาก 1 – 2 ครั้ง ต่อ 2 สัปดาห์ แต่ถ้าพ่อแม่ไปเรียนรู้วิธีการฝึกฝน และนำกลับมาฝึกสอนลูก จะทำให้ความสามารถในการพูด  มองหน้า สบตากันดีขึ้น
          6. พาไปตรวจเช็คความคืบหน้าของความสามารถเด็ก อย่างน้อยทุก 3 เดือน

ที่มา      สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels