2 มิถุนายน 2556
มีโรคอะไรบ้างนะที่ต้องระวังเมื่อลูกน้อยปวดท้อง
มีโรคอะไรบ้างนะที่ต้องระวังเมื่อลูกน้อยปวดท้อง
ในปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอนของการเกิดโรคลำไส้กลืนกัน แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้จากการเหนี่ยวนำบางอย่าง เช่นต่อมน้ำเหลืองในลำไส้ที่โตขึ้น ไม่ว่าจะเกิดจากไข้หวัด หรือลำไส้อักเสบเป็นตัวกระตุ้น ทำให้เกิดภาวะที่ส่วนของลำไส้เล็กที่อยู่ต้นกว่า ค่อยๆ เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในลำไส้ส่วนที่อยู่ปลายกว่า ในลักษณะที่เรียกว่ากลืนกันนั่นเอง ทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตันภายใน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ และมักจะพบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุ 4-8 เดือน และมักจะเกิดขึ้นในเด็กที่อ้วนท้วน ร่างกายสมบูรณ์ แข็งแรงดี
อาการ
- เด็กจะร้องกรี๊ด จากอาการปวดท้อง เมื่อลำไส้เกิดการบีบตัว
- ตัวซีด มือ-เท้าเกร็ง เหงื่อออกตามร่างกาย และอาจมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
- อาการปวดท้องจะค่อยๆ ลดลงเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นชั่วขณะ จนกระทั่งเด็กปวดท้องอีกครั้งพร้อมกับอาเจียนซึ่งอาจจะมีสีเขียวของน้ำดีปนมาด้วย
- เมื่อลำไส้กลืนกันมากขึ้น เด็กจะถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ซึ่งมีลักษณะเป็นเลือดสีคล้ำปนออกมากับมูก หรืออาจจะออกมาเป็นเลือดสดก็ได้
- เด็กจะมีไข้ต่ำและซึมลง
เนื่องจากอาการของโรคเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน เด็กอาจอยู่ในภาวะขาดน้ำจากการอาเจียน จำเป็นต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อให้น้ำเกลือ พร้อมกับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ และผ่านกระบวนการวินิจฉัยโรค โดยการซักประวัติ การตรวจร่างกายเพื่อคลำหาก้อนเนื้อที่เกิดจากลำไส้กลืนกัน การตรวจด้วยอัลตร้าซาวน์จะสามารถตรวจพบลำไส้กลืนกันได้
- ดันลำไส้ส่วนที่เคลื่อนตัวเข้าไป ให้ออกมาจากลำไส้ส่วนที่กลืนกันอยู่โดยการใช้แรงดันผ่านทางทวารหนัก โดยการสวนลำไส้ใหญ่ด้วยสารทึบแสง หรือใช้แรงกดอากาศจากกาซเป็นตัวดัน หากสามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกได้ ก็ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เด็กสามารถกินนมแม่หรืออาหารเสริมได้ตามปกติภายในเวลา 12 ชั่วโมง หลังจากการดัน และกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วัน
- ในกรณีที่ลำไส้มีการกลืนกันเป็นระยะเวลานาน จนเกิดการเน่าของลำไส้ หรือไม่สามารถดันลำไส้ที่กลืนกันออกมาได้ จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดให้ลำไส้ส่วนที่กลืนกันคลายตัวออกจากกัน และถ้าลำไส้มีการเน่าตายแล้วก็จำเป็นต้องผ่าตัดตัดต่อลำไส้ส่วนที่ดีเข้าหากัน การดูแลหลังการผ่าตัดนั้น อาจใช้เวลานานกว่าการใช้วิธีดันลำไส้ เด็กสามารถกินอาหารได้ตามปกติหลังจากนั้น 3-5 วัน
สิ่งที่ต้องระวัง
สำหรับพ่อแม่ที่ไม่รู้ว่าลูกน้อยป่วยเป็นโรคลำไส้กลืนกัน เมื่อเห็นว่าเด็กมีอาการปวดท้อง อาเจียน มีไข้ อาจนึกไปว่าเป็นโรคลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อหรือเป็นโรคบิด ซื้อยามารับประทานเอง กระทั่งลำไส้เริ่มมีการขาดเลือด จนลูกถ่ายอุจจาระเป็นเลือดปนมูกจึงไปแพทย์ ทำให้ได้รับการรักษาที่ช้าเกินไป แม้ว่าอุบัติการณ์ของการเกิดโรคลำไส้กลืนกันมีไม่มากนัก แต่ก็ยังเป็นโรคที่มีความรุนแรง อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงไม่ควรนิ่งนอนใจกับอาการปวดท้องที่เกิดขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างเร่งด่วน
โรคไส้ติ่งอักเสบ
จะว่าไปแล้วโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กเหมือนกัน อย่างเช่นโรคไส้ติ่งอักเสบ แต่ในเด็กเล็กๆ อาจทำการวินิจฉัยโรคค่อนข้างลำบาก เพราะอาการต่างๆ ดูได้ไม่ชัดเจนอย่างผู้ใหญ่
ไส้ติ่งอยู่บริเวณด้านขวาของช่องท้องตรงใกล้รอยต่อของลำไส้เล็กกับลำไส้ใหญ่ มีปลายข้างหนึ่งตัน แต่ก็จะมีช่องเล็กๆ ทางปลายอีกด้านที่ต่อกับลำไส้ เมื่อเกิดการอุดตัน ก็อาจเป็นเหตุให้เชื้อโรคสามารถเจริญเติบโต จนเกิดอาการบวมและอักเสบได้
ส่วนสาเหตุของการเกิดโรค พบว่า 80 % เกิดจากต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ส่วนโคนลำไส้บวมขึ้นมา ทำให้รูดังกล่าวอุดตัน และอีก 20 % เกิดจากเศษอุจจาระที่แข็งตัวไปอุดรูเปิด เมื่อมีการอุดตันที่ตัวไส้ติ่ง ก็จะเกิดการอักเสบเนื่องจากเชื้อโรคที่เจริญเติบโตได้ดี ทำให้เกิดการขาดเลือด จนเกิดการอักเสบบริเวณไส้ติ่งที่อยู่ส่วนต้นของลำไส้ใหญ่
อาการ
- ร้องไห้จากอาการปวดท้อง
- ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้
- อาจมีไข้และอาเจียนตามมา
ในรายที่มีอาการชัดเจนจะเริ่มด้วย อาการปวดท้อง ซึ่งมักจะเป็นรอบสะดือ และหลายชั่วโมงต่อมาอาการปวดท้องจะชัดเจนมากขึ้น และจะย้ายตำแหน่งที่ปวดมาปวดบริเวณหน้าท้องด้านขวาตอนล่าง (ตำแหน่งที่พบบ่อยที่สุด) แต่ก็อาจจะปวดในตำแหน่งอื่นๆ แล้วแต่ตำแหน่งของปลายไส้ติ่ง
เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด
สิ่งที่ต้องระวัง
โรคไส้ติ่งอักเสบดูเหมือนไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากเกิดความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคหรือทำการรักษาช้าเกินไป จนไส้ติ่งเน่าและแตก ทำให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ก็อาจทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ดังนั้น ถ้าลูกมีอาการปวดท้อง แม้ว่าอาการจะยังไม่ชัดเจน เป็นเพียงแค่สงสัย ก็ควรจะนำลูกไปพบแพทย์
โดยปกติภายในช่องท้อง จะมีผนังหน้าท้องที่แข็งแรงป้องกันอยู่โดยรอบ แต่ส่วนที่ทำให้เกิดปัญหา คือบริเวณขาหนีบ ซึ่งมักจะพบว่ามีส่วนถุงเยื่อบุช่องท้องยื่นออกมาตรงขาหนีบ ซึ่งโดยปกติแล้วส่วนถุงนี้มักจะปิดได้เองโดยธรรมชาติ แต่บางครั้งก็ไม่เป็นไปตามธรรมชาติ (ไม่ปิด) ทำให้ลำไส้อาจเคลื่อนตามออกมาด้วย ส่วนใหญ่ยังพบอีกว่า มักเป็นกับเด็กผู้ชาย ส่วนที่ว่าทำไมเหรอครับ ก็เพราะถุงเยื่อบุช่องท้องมักจะเปิดอยู่ อันเป็นผลจากการเคลื่อนตัวของอัณฑะซึ่งเดินทางจากภายในช่องท้องลงมาที่ถุงอัณฑะ เด็กผู้หญิงก็มีไส้เลื่อนด้วยเช่นกัน แต่การเคลื่อนที่ของไส้เลื่อนจะลงมาได้ถึงแค่บริเวณหัวหน่าวเท่านั้น เด็กทารกที่เกิดก่อนกำหนดจะมีภาวะความเสี่ยงของโรคไส้เลื่อนมากกว่าเด็กปรกติทั่วไป
- อาจพบก้อนเนื้อผิดปกติปูดขึ้นบริเวณขาหนีบหรือที่ถุงอัณฑะข้างใดข้างหนึ่ง ขณะที่เด็กร้องเบ่งเสียง
- ก้อนเนื้อที่ปูดขึ้นมาอาจผลุบๆ โผล่ๆ ให้เห็น เวลาที่เด็กยืนหรือเดินนานๆ และอาจจะยุบหายไปในขณะที่เด็กนอนหลับ ผู้ปกครองอาจจะสังเกตเห็นไส้เลื่อนในขณะที่อาบน้ำก็ได้
เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด ปิดผนังช่องท้อง
บางครั้งลำไส้อาจเคลื่อนกลับเข้าไปในช่องท้อง และไม่มีอาการแสดงให้เห็น แต่ถ้าลำไส้เคลื่อนออกมาแล้วกลับเข้าไปไม่ได้ ถูกปล่อยทิ้งไว้นาน ลำไส้ก็จะขาดเลือดทำให้ลำไส้เน่า โดยเฉพาะเด็กเล็กๆ อายุน้อยกว่าหนึ่งปี สิ่งที่พ่อแม่ทำได้คือ เมื่อสงสัยว่าลูกมีอาการของโรคไส้เลื่อน ควรรีบพาเด็กมาพบแพทย์ เพื่อทำการรักษา
โรคลำไส้อักเสบเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อ ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส พยาธิ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุดเป็นพวกไวรัสซึ่งทำให้เกิดอุจจาระร่วงแบบเฉียบพลัน นอกจากนี้อาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบที่ลำไส้โดยตรง หรืออาจจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ
อาการ
- อาเจียน คลื่นไส้
- อุจาระร่วง
- ปวดท้อง
- เป็นไข้
การรักษา
หลักๆ คือให้กินน้ำเกลือแร่ หรือผงเกลือแร่ละลายน้ำ และให้อาหารที่เหมาะสมในช่วงที่เด็กมีปัญหาท้องเสีย อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษาในรายที่มีอาการถ่ายเป็นมูกเลือดหรือสงสัยว่าเกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย
- รายที่อาการรุนแรงอาจเปลี่ยนนมเป็นชนิดไม่มีน้ำตาลแลคโตสชั่วคราว
คือเรื่องความสะอาด ความสุก สด ของอาหาร และสุขอนามัยที่ถูกสุขลักษณะของลูก
นอกจากโรคที่กล่าวมา โรคที่เกี่ยวกับลำไส้ยังมีอีกหลาหลายโรค แต่ก็อาจพบได้ไม่บ่อยนัก และอย่างที่บอกว่า อาการบางอย่าง ก็ไม่สามารถสรุปฟันธงได้ว่าเป็นโรคอะไร เป็นเพียงแค่สันนิฐานในเบื้องต้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ที่สำคัญ ไม่ควรซื้อยาใดๆ ให้ลูกกินเอง เนื่องจากยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียงกับลูกได้
ที่มา รศ. นพ. รวิศ เรืองตระกูล
สาขาวิชากุมารศัลยศาสตร์ ภาควิชาศัลยศาสตร์
Faculty of
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ป้ายกำกับ:
ปวดท้อง,
สุขภาพเด็ก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รู้จักพวกเรา
แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก
From January 2, 2013 |
ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้
Blog Archive
บทความที่ได้รับความนิยม
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดที่ 1 นี้เป็นการ บวกเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,9 กับเลขหลักเดียวอื่น ๆ เหมาะกับเด็ก อ...
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดนี้เป็นชุดที่ 7 การบวกทั้งแบบมีการทดและ ไม่มีการทด ของเลข 2 หลัก ชุดละ 40 ข้อ...
-
แบบฝึกการคูณ คณิตศาสตร์ ประถม แบบฝึกการคูณ ชุดที่1 แบบฝึกการคูณ ชุดที่2 แบบฝึกการคูณ ชุดที่3 แบบฝึกการคูณ ชุดที่4 แบบฝึกการคูณ ชุดที...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
Labels
- 2557 (1)
- 3to7 (7)
- 6-12 ปี (1)
- 6Q (1)
- 7to9 (12)
- กรดไขมัน (1)
- การเขียน Essay (1)
- การคูณ (4)
- การดูแลฟันของลูก (2)
- การทดลองวิทยาศาสตร์ (4)
- การบวก (1)
- การบวกเศษส่วน (1)
- การบีบน้ำนมแม่ (1)
- การลบเลข 1หลัก (1)
- การล้างจมูก (2)
- การล้างมือ (1)
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (7)
- การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี (25)
- การเลี้ยงลูกวัยเรียน (31)
- การวัด (1)
- การหาร (4)
- เกมคณิตศาสตร์ (5)
- เกมเจ้าสีหาพวก (1)
- เกมพัฒนาสมองลูก (16)
- เกมแม่บอกทาง (1)
- เกมสร้างเสริมพัฒนาการ (19)
- เกมหาคำคล้องจอง (1)
- ข้อสอบคณิตศาสตร์ (2)
- ข้อสอบ ป.1 (2)
- ข้อสอบ ป.2 (1)
- คณิตคิดเร็ว (28)
- คณิตศาสตร์ (32)
- ความยาวรอบรูป (1)
- ความสัมพันธ์ (8)
- คออักเสบ (1)
- จตุรัสกล (1)
- โจทย์ปัญหา (1)
- เฉลย (2)
- ช่องปาก (1)
- ไซนัสอักเสบในเด็ก (1)
- ดนตรี (2)
- เด็กกินยาก (1)
- เด็กติดเกม (1)
- เด็กวัยเรียน (2)
- โดเรมอน (1)
- ตั้งโต๊ะกินข้าว (1)
- ตา (1)
- ทอนชิลอักเสบ (1)
- เทคนิคสอนลูกให้รักการอ่าน (1)
- ธาลัสซีเมีย (1)
- นมแม่ (2)
- นาฬิกา (1)
- นิทานก่อนนอน (1)
- บวกเลข (9)
- บวกเลข 2 หลัก (2)
- แบบฝึก (24)
- ใบงาน (17)
- ปฐมวัย (4)
- ประถม (24)
- ปวดท้อง (1)
- ปานแต่กำเนิด (1)
- เปรียบเทียบเศษส่วน (1)
- ผลสอบ (1)
- พว. (1)
- พัฒนาการ (31)
- พื้นที่ (1)
- พูดช้า (1)
- เพลงกล่อมเด็ก (1)
- เพลง Classic (1)
- ภาพระบายสี (1)
- ภาวะบกพร่องในทักษะการเรียน (3)
- ภาษาอังกฤษ (3)
- ม.4 (1)
- มหิดลวิทยานุสรณ์ (1)
- ไม่ยอมไปโรงเรียน (1)
- ร้องไห้ 3 เดือน (1)
- รักการอ่าน (1)
- โรคติดเชื้อ (1)
- โรคในเด็ก (7)
- โรคลมชัก (1)
- โรคหัวใจ (1)
- เลข 3 หลัก (1)
- เลิกขวดนม (1)
- เลี้ยงลูกให้มี E.Q.สูง (3)
- วัคซีน (3)
- วิทยาศาสตร์ (3)
- เวลา (1)
- ศิริราช (1)
- ศิลปะ (1)
- เศษส่วน (4)
- สมองดี (1)
- สมาธิสั้น (2)
- สี่เหลี่ยม (1)
- สุขภาพ (13)
- สุขภาพเด็ก (19)
- หนังสือ (1)
- หมู่โลหิต (1)
- อนุกรม (2)
- อนุบาล (13)
- อนุบาล 3 (5)
- อีโบลา (1)
- english (3)
- kids (7)
- LD (1)
- math (28)
- math3year (2)
- mathgame (6)
- mathtest (17)
- music (3)
- worksheet (31)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น