14 มิถุนายน 2556

หมอนข้างคู่ใจ


หมอนข้างคู่ใจ
        การที่จะทำใจแยกห่างจากแม่บางครั้งก็แสนจะลำบากใจ จะกับไปนอนกอดก็แม่รู้สึกเขินว่าตัวเองโตแล้วจะนอนคนเดียวก็อ้างว้าง โหวงเหวง หมอนข้างจึงเป็นสิ่งของที่มาเป็นเครื่องปลอบประโลมใจคลายเหงา อย่างน้อยกลิ่นความนุ่มนวลก็ช่วยทำให้รู้สึกอุ่นใจ โดยเฉพาะเมื่อจากบ้านหรือจากแม่ออกมา ขนาดจอมยุทธ์ยังพกกระบี่ไว้แนบกาย ทำให้มั่นใจทุก ๆ สถานการณ์เด็ก ๆ วัยอนุบาลที่เริ่มจากบ้านออกมาก็เช่นกัน จำเป็นต้องมีหมอนข้าง ตุ๊กตา ผ้าห่ม ขวดนม ฯลฯ ติดตัวเมื่อมาโรงเรียนในระยะแรก เพื่อเพิ่มความมั่นใจ แต่พอปรับตัวได้ เข้ากับเพื่อนได้ เล่นด้วยกันสนุกสนานแล้ว ข้าวของเหล่านี้ก็ถูกลืมเลือนไปนั่นเป็นเพราะว่ามีสิ่งอื่นที่สนุกกว่ารออยู่ที่โรงเรียน




สาเหตุที่เด็กติดสิ่งของ
1. เป็นช่วงพัฒนาการตามวัย 2 – 4 ปี เป็นช่วงปรับเปลี่ยนที่จะแยกจากพ่อแม่ได้มากขึ้น
2. ปรับตัวยาก ถูกเลี้ยงดูแบบปกป้องมากทำให้เด็กไม่มั่นใจตัวเอง ช่วยตัวเองไม่ได้ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ยาก ใช้เวลานาน
3. ถูกละทิ้ง ขาดความรัก ความเอาใจใส่ เอาสิ่งของเหล่านี้เป็นสิ่งทดแทน
4. ย้ำคิด ย้ำทำ อาจเป็นอาการหนึ่งของโรคทางจิตใจ เช่น โรคออทิสติก

วิธีการแก้ไข
        1. ให้ลูกยอมรับความเป็นจริงว่าสิ่งของทุกอย่าง หลายครั้งก็ต้องสกปรก ต้องทำความสะอาด ต้องเอาไปซักหรืออาบน้ำ อาจฝึกให้ลูกเอาหมอนหรือผ้าห่มมาช่วยกันซักกับแม่แล้วตากให้แห้ง เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมโดยที่เด็กมีส่วนร่วม วันไหนที่ต้องซักทำความสะอาด อาจหาหมอนข้างหรือผ้าห่มอื่นให้แทนไปก่อน ถ้าเด็กไม่รับก็ไม่เป็นไร ยิ่งดีเสียอีก ชักชวนให้เด็กเล่นของเล่นอื่น ๆ เบี่ยงเบนความสนใจให้สนุกสนาน เมื่อเด็กกับมาคิดถึงหมอนข้างก็ชี้ชวนให้มาดูหมอนข้างที่แขวนเอาไว้แถมให้จับดูก็ได้ว่ายังไม่แห้ง ตอนนี้ยังเอาไปกอดไม่ได้หรอก เพราะถ้ากอดแรง ๆ ตัวหนูจะเปียกไปด้วย จัดสถานการณ์ในทำนองนี้บ่อย ๆ หลาย ๆ รูปแบบที่ทำให้เด็กไม่สามารถนำเอาหมอนข้างติดตัวไปไหนมาไหนได้ทุกครั้งที่ต้องการ
        2. เข้าใจความรู้สึกของเด็กว่าการที่มีหมอนข้างติดตัว ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ ดังนั้นถ้าเด็กมีกิจกรรมที่ต้องออกนอกบ้านกับพ่อแม่ก็คงไม่จำเป็นต้องเอาหมอนข้างไปด้วย ยกเว้นว่าคุณทำให้ลูกอบอุ่นใจไม่เพียงพอ ซึ่งอาจปรับปรุงท่าทีที่คุยเล่น กอดจูบให้มากขึ้น
        3. ให้เวลาเล่นกับลูกในกิจกรมหลาย ๆ อย่าง เพื่อฝึกให้ลูกเล่นกับผู้อื่นเป็น และสามารถเล่นได้หลายอย่าง อย่าเล่นกับลูกซ้ำ ๆ เดิม สิ่งที่ควรถามตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่าเวลาที่คุณให้เวลาอยู่กับลูกนั้น คุณสามารถฝึกให้ลูกของคุณเก่งขึ้นหรือไม หรือลูกเขาเก่งของเขาอยู่แล้ว เด็กอายุ 4 ½ ขวบ คนหนึ่งบอกกับหมอว่า คุณพ่อเขาเล่นแต่ตุ๊กตาค่ะ อย่างอื่นคุณพ่อไม่เป็น เป็นต้น
        4. ปรับเปลี่ยนรายละเอียดการเลี้ยงดู โดยฝึกให้เด็กช่วยเหลือตัวเองให้เพิ่มขึ้น พยายามห้ามใจมิให้เข้าไปช่วยเหลือเด็กมากนัก  เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสทำอะไรด้วยตัวเองเพิ่มขึ้น ยิ่งเด็กรู้ว่าตัวเองทำอะไรได้เองหลายอย่าง ก็จะมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้นในการแยกจากแม่ไปสู่โรงเรียน
        5. ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมบ่อย ๆ เพื่อให้เด็กปรับตัวกับสถานการณ์หลาย ๆ แบบ เช่น ออกไปกินข้าวนอกบ้าน ไปปิกนิก ไปสวนฝรั่งเพื่อเยี่ยมคุณยาย จัดห้องใหม่ จัดของเล่นใหม่ ของเล่นบางอย่างเก็บใส่ลังผ้าปูที่นอน ปลอกหมอนใหม่ย้ายห้องสลับกัน  เป็นต้น
        6. ถ้าไม่ดีขึ้นให้พามาพบกุมารแพทย์

ที่มา    สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 

0 ความคิดเห็น:

รู้จักพวกเรา

แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก

เด็ก ๆ น่ารัก 3 พี่น้อง
From January 2, 2013

ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้

บทความที่ได้รับความนิยม

จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

Labels