6 กันยายน 2556
เตรียมตัวเด็กให้พร้อม เพื่อเลิกใช้ขวดนมหลังอายุ 1 ปี
เตรียมตัวเด็กให้พร้อม เพื่อเลิกใช้ขวดนมหลังอายุ 1 ปี
- ทำอย่างไรจะเตรียมตัวลูก
ให้พร้อม เพื่อเลิกใช้ขวดนมหลังอายุ 1 ปี โดยไม่ทำให้ลูกหงุดหงิด
ตอบ ต้องฝึกเด็กในช่วงอายุขวบปีแรกอย่างเป็นขั้นตอน
ให้เหมาะกับพัฒนาการ ทำให้เมื่อถึงเวลาจะเลิกขวดนมได้ง่าย
อายุ 6 เดือน คอตั้งได้มั่นคง ปฏิกิริยาดันลิ้นออกจะค่อยๆ หายไป สามารถเริ่มฝึกให้เด็ก ดื่มน้ำ ดื่มนม จากแก้ว ได้ทีละน้อย
อายุ 8 เดือน
นั่งได้เองโดยไม่ต้องพยุง รู้จักเคี้ยว
สามารถถือของมือเดียวและถ่ายโอนไปยังอีกมือได้ จึงควรเริ่มฝึกให้เด็กถือแก้วใบเล็ก
เพื่อให้เด็กทำความคุ้นเคย เปรียบเสมือนของเล่นชิ้นหนึ่งของเด็ก
(ขอขอบคุณนายแบบน้อยๆ.... น้องพู่กัน ด.ช กฤษติน)
อายุ 10 เดือน
เข้าใจ คำสั่ง ชอบเลียนแบบพ่อแม่ พ่อแม่จึงควรดื่มน้ำจากแก้วให้เด็กดูเป็นตัวอย่างอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้เด็กดูดน้ำจากขวดนม
อายุ 1 ปี ถือแก้วได้ดีขึ้น
เริ่มเดินได้ สนใจสำรวจสิ่งแวดล้อม ทำให้ความสนใจในการดูดนมลดลง ชอบคำชม
ต้องการทำให้พ่อแม่พึงพอใจ จึงควรเริ่ม
ฝึกเลิกขวดนมควบคู่กับการให้แรงเสริมทางบวก คือ การชม
อายุ 1 ปี ครึ่ง ห่วงเล่นมากกว่ากิน
พัฒนาการกล้ามเนื้อดีขึ้น
จึงควรหมั่นฝึกเด็ก จนเคยชิน เพื่อลดการต่อต้าน เด็กจะใช้แก้วได้เก่งขึ้น
จึงควรหมั่นฝึกเด็ก จนเคยชิน เพื่อลดการต่อต้าน เด็กจะใช้แก้วได้เก่งขึ้น
ที่สำคัญ ควรฝึก ให้เด็กมีพฤติกรรม
กินอาหารที่เหมาะสม ควบคู่ไปด้วย เช่น อายุ 9 - 10 เดือน
เด็กใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบจับอาหารได้ ควรส่งเสริมให้หยิบอาหารเข้าปากเอง
และค่อยๆ ฝึกใช้ช้อน ซึ่งภายในอายุ 1 ปีครึ่ง - 2 ปี เด็กมักจะใช้ช้อนตักอาหารกินเองได้ดี
เด็กจะเริ่มสนใจอาหารทั่วไปมากขึ้น เมื่อเลิกดูดนมจากขวด เด็กจึงไม่หงุดหงิด
- จะป้องกันไม่ให้ติดขวดนม
ได้อย่างไร
ตอบ เตรียมการ จัดการนอน การกิน ให้ดีตั้งแต่เล็ก
จะป้องกันการติดขวดนมได้โดยมีแนวทางดังนี้
- ฝึกลูกให้เข้านอนเป็นเวลาและหลับได้ด้วยตัวเอง โดยวางบนที่นอนขณะยังตื่น
หรือเมื่อเริ่มง่วง ไม่พาหลับโดย กกกอด หรือให้ดูดนมจนหลับ
เพราะจะชิน ตื่นกลางดึกไม่มีใครพาหลับก็มักจะร้อง
ลงท้ายต้องดูดขวดนม ทั้งที่อาจไม่หิว
- เมื่อหลับแล้ว ลูกขยับตัวนิดหน่อย
ให้รอสักพัก
หรือสัมผัสเบาๆ เช่น ตบก้น เด็กมักหลับต่อได้เอง
- สร้างบรรยากาศกลางคืนให้เหมาะสม
ไม่เปิดไฟสว่าง ไม่เปิดทีวีนอนหรืออุ้มเล่นกลางดึก
- อาจหาตุ๊กตา
หรือของที่ลูกชอบพาเข้านอนด้วย เมื่อลูกอายุ 4-5 เดือน
เป็นสิ่งปลอบใจและเป็นเพื่อนลูกแทนขวดนม
- ฝึกลด/เลิกนมมื้อดึก
(หมายถึงเวลาประมาณ 24.00-04.00
น.) ตั้งแต่อายุ 4-6 เดือน เพราะเด็กเริ่มนอนหลับยาวได้ 6-8
ชั่วโมง โดยไม่หิว โดยมีกระบวนการ ดังนี้
- ให้นมมื้อกลางวันแต่ละมื้อให้อิ่ม นมมื้อดึกกินพอหายหิว
ค่อยๆลดจนเลิกได้ ไม่บังคับหรือคะยั้นคะยอให้กินทั้งที่ไม่หิว
- ฝึกกินนมให้อิ่ม ก่อนนอน หลังทำความสะอาดฟันแล้ว
ไม่ควรให้ดูดนมอีก ไม่ปลุกเด็กกินนมมื้อดึก
- ฝึกจิบน้ำทุกชนิด-นมจากแก้ว
หรือช้อน สลับกับการดูดจากขวด เมื่ออายุ 4-6 เดือน เพื่อให้เริ่มคุ้นเคย
- ฝึกลูกใช้ขวดนมเมื่อเวลาหิว
ไม่ใช้เป็นของเล่นเดินถือไปมา
- สร้างบรรยากาศ ”กินอาหาร”
อย่างมีความสุข แม้เลิกใช้ขวดนม ก็กินอาหารอื่นได้ อย่างสุขใจ
- นมมื้อดึกเด็กๆ
เลิกกันได้เมื่อไร
ตอบ โดยธรรมชาติเด็กวัย
2-3 เดือนแรก จะตื่นบ่อย กินบ่อย เพราะเด็กยังมีการปรับตัว
วงจรการนอนยังไม่แน่นอน ความจุของกระเพาะอาหารยังเล็กจึงหิวบ่อย เมื่อโตขึ้น
วงจรการนอนจะเหมือนผู้ใหญ่ เริ่มนอนได้นานขึ้น กระเพาะอาหารก็โตขึ้น เด็ก 6
เดือน นอนกลางคืนได้นาน 6-8 ชั่วโมง
โดยไม่หิว โดยทั่วไปทารกที่กินนมผสม มักนอนกลางคืนนาน 4-6 ชั่วโมง
โดยไม่ตื่นมากินนมมื้อดึกเมื่ออายุ 4 เดือน
ในขณะที่ทารกที่กินนมแม่มักเลิกได้เมื่ออายุประมาณ 5 เดือน
หากได้รับการฝึกฝนที่เหมาะสม เด็กน่าจะเลิกนมมื้อดึกได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน รายงานจากต่างประเทศพบว่า ร้อยละ 83 ของเด็กอายุ 6 เดือน สามารถปฏิบัติได้แล้ว สำหรับเมืองไทย จากการศึกษาของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ ระหว่าง พ.ศ. 2546-2549 พบว่ามีเพียงร้อยละ 15 ที่ปฏิบัติได้ เด็กอายุ 1-2 ปียังตื่นขึ้นมากินนมมื้อดึก (24.00 – 04.00 น.) ประมาณร้อยละ 70 เด็กอายุ 2-3 ปีประมาณร้อยละ 45 และอายุ 3-4 ปีร้อยละ 21 ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้มากนัก มักรีบให้นมตั้งแต่เด็กเริ่มบิดตัว หรือเริ่มร้อง ซึ่งอาจไม่ใช่เพราะหิว ในที่สุดทำให้เด็กชินกับการได้รับนมมื้อดึกจนติดทั้งนมและขวด
หากได้รับการฝึกฝนที่เหมาะสม เด็กน่าจะเลิกนมมื้อดึกได้เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน รายงานจากต่างประเทศพบว่า ร้อยละ 83 ของเด็กอายุ 6 เดือน สามารถปฏิบัติได้แล้ว สำหรับเมืองไทย จากการศึกษาของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ ระหว่าง พ.ศ. 2546-2549 พบว่ามีเพียงร้อยละ 15 ที่ปฏิบัติได้ เด็กอายุ 1-2 ปียังตื่นขึ้นมากินนมมื้อดึก (24.00 – 04.00 น.) ประมาณร้อยละ 70 เด็กอายุ 2-3 ปีประมาณร้อยละ 45 และอายุ 3-4 ปีร้อยละ 21 ซึ่งอาจเป็นเพราะพ่อแม่ไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องเหล่านี้มากนัก มักรีบให้นมตั้งแต่เด็กเริ่มบิดตัว หรือเริ่มร้อง ซึ่งอาจไม่ใช่เพราะหิว ในที่สุดทำให้เด็กชินกับการได้รับนมมื้อดึกจนติดทั้งนมและขวด
- ทำไมควรเลิกนมมื้อดึกให้ได้
ตั้งแต่เด็กอายุ 6 เดือน
ตอบ ที่ควรเลิกให้ได้ที่อายุประมาณ
6 เดือน เนื่องจาก วัยนี้พัฒนาการทางการนอนเด็กจะนอนได้นานขึ้น
6-8 ชั่วโมง โดยไม่หิว การเลิกนมมื้อดึกได้ เป็นบันไดขั้นต้นที่จะช่วยให้เด็กเลิกขวดนมได้ง่ายขึ้นเมื่ออายุหลัง 1
ปี สิ่งสำคัญคือ
การที่ปล่อยให้เด็กนอนหลับอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ฮอร์โมนที่ช่วยการเจริญเติบโตหลั่งได้ดี
นอกจากนี้ สารเคมีที่ช่วยการพัฒนาสมองจะทำงานได้ดี เกิดผลดีต่อการเจริญเติบโต
และพัฒนาการของเด็ก
- อยากให้ลูกลดการกินนมกลางคืนลงไป
จะทำไงดี
ตอบ ถ้าลูกอายุเกิน 6 เดือนไปแล้วและมีสุขภาพดี
มีน้ำหนักเพิ่มตามเกณฑ์ก็สามารถงดการให้นมตอนกลางคืนได้อย่างปลอดภัย หากกินนมแม่ก็จำกัดนมตอนกลางคืนเหลือแค่
5 นาทีตอน 2 คืนแรก แล้วลดเหลือ 3
นาทีใน 2 คืนต่อมา
หลังจากนั้นก็ให้แต่น้ำอย่างเดียว ถ้ากินนมผงให้ลดความถี่หรือปริมาณมื้อดึก 1
ขวด ทุก 2-4 วัน จนหยุดนมได้
หากลูกร้องอาจให้น้ำแทนนมจนในที่สุดเด็กเคยชิน ไม่ติดนิสัยตื่นมาดูดนมมื้อดึกอีก
- วิธีแก้ไขปัญหาลูกตื่นกลางคืน
ตอบ 1. ลดเวลานอนกลางวันของลูกให้น้อยลง
และเพิ่มกิจกรรมเล่นสนุกกับลูกตอนกลางวันให้
มากขึ้น
มากขึ้น
- ผ้าอ้อม เสื้อผ้า
เครื่องนอนของลูกต้องสะอาด ใส่สบาย
และตรวจสอบที่นอนไม่ให้มีมดแมลงที่จะรบกวนการนอนของลูก
- ช่วงกลางคืนก่อนเข้านอนไม่ควรชวนลูกเล่นจนตื่นเต้นมากนัก
ควรหากิจกรรมเบาๆ เช่น อ่านนิทานให้ลูกฟัง หรือนวดเบาๆ
เพื่อเป็นการผ่อนคลายให้ลูกก่อนนอน
- กำหนดเวลาเข้านอนที่แน่ชัดให้ลูก
เมื่อใกล้ถึงเวลาเข้านอน ให้บอกลูก เพื่อให้ลูกได้เตรียมตัว แม้ว่าช่วงเล็กๆ
ลูกจะไม่รู้ว่าคืออะไร แต่ถ้าเราปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำทุกวัน
ลูกจะรับรู้ได้เองว่าถึงเวลาเข้านอน
- จัดบรรยากาศของห้องนอนให้สงบ
เวลาที่ให้ลูกเข้านอนไม่ควรเปิดไฟสว่างเกินไป
เพื่อสอนให้ลูกรู้ว่ากลางคืนมืดแล้ว เราต้องนอน
- ไม่ควรให้ลูกดูดนมทุกครั้งที่ลูกตื่น
เพราะจะทำให้ลูกเคยชินกับการตื่นแล้วต้องดูดนม
บางครั้งลูกไม่ได้ตื่นเพราะความหิว เมื่อลูกร้องควรรอซักพัก
เขาอาจหลับต่อได้เอง หากลูกยังไม่หลับควรหาสาเหตุว่าลูกร้องไห้เพราะอะไร
เด็กอาจตื่นเพราะฝันร้ายหรือปัสสาวะอุจจาระเปียกชื้น
- ควรให้ลูกหลับด้วยตัวเอง
ไม่ควรอุ้มกล่อม หรือ ดูดนมจนหลับ เพราะจะทำให้ลูกเคยชิน
ถ้าจะอุ้มกล่อมควรวางลูกลงบนที่นอนก่อนที่ลูกจะหลับ
- ฝึกลูกให้นอนหลับฝันดี
เพื่อป้องกันการตื่นบ่อยได้อย่างไร
ตอบ เริ่มจาก
ฝึกพาลูกเข้านอนเป็นเวลา ต้องค่อยๆ ฝึกตั้งแต่อายุ 2-3 เดือน ควรพาทารกเข้านอน
วางบนที่นอน ก่อนที่จะหลับ หรือเมื่อทารกเริ่มง่วง ควรวางทารกให้หลับเอง ไม่กก
กอดจนหลับคาอกแม่ จนอายุ 4-6 เดือน อาจหาของเล่น
หรือตุ๊กตาสัตว์นุ่มๆ ให้เด็กพาเข้านอน จนเด็กคุ้นเคย หากตื่นกลางดึกโดยไม่หิว
เมื่อเห็นตุ๊กตาอยู่ใกล้ อาจหลับต่อเองได้โดยไม่เรียกหานม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รู้จักพวกเรา
แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก
From January 2, 2013 |
ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้
Blog Archive
บทความที่ได้รับความนิยม
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดที่ 1 นี้เป็นการ บวกเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,9 กับเลขหลักเดียวอื่น ๆ เหมาะกับเด็ก อ...
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดนี้เป็นชุดที่ 7 การบวกทั้งแบบมีการทดและ ไม่มีการทด ของเลข 2 หลัก ชุดละ 40 ข้อ...
-
แบบฝึกการคูณ คณิตศาสตร์ ประถม แบบฝึกการคูณ ชุดที่1 แบบฝึกการคูณ ชุดที่2 แบบฝึกการคูณ ชุดที่3 แบบฝึกการคูณ ชุดที่4 แบบฝึกการคูณ ชุดที...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
Labels
- 2557 (1)
- 3to7 (7)
- 6-12 ปี (1)
- 6Q (1)
- 7to9 (12)
- กรดไขมัน (1)
- การเขียน Essay (1)
- การคูณ (4)
- การดูแลฟันของลูก (2)
- การทดลองวิทยาศาสตร์ (4)
- การบวก (1)
- การบวกเศษส่วน (1)
- การบีบน้ำนมแม่ (1)
- การลบเลข 1หลัก (1)
- การล้างจมูก (2)
- การล้างมือ (1)
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (7)
- การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี (25)
- การเลี้ยงลูกวัยเรียน (31)
- การวัด (1)
- การหาร (4)
- เกมคณิตศาสตร์ (5)
- เกมเจ้าสีหาพวก (1)
- เกมพัฒนาสมองลูก (16)
- เกมแม่บอกทาง (1)
- เกมสร้างเสริมพัฒนาการ (19)
- เกมหาคำคล้องจอง (1)
- ข้อสอบคณิตศาสตร์ (2)
- ข้อสอบ ป.1 (2)
- ข้อสอบ ป.2 (1)
- คณิตคิดเร็ว (28)
- คณิตศาสตร์ (32)
- ความยาวรอบรูป (1)
- ความสัมพันธ์ (8)
- คออักเสบ (1)
- จตุรัสกล (1)
- โจทย์ปัญหา (1)
- เฉลย (2)
- ช่องปาก (1)
- ไซนัสอักเสบในเด็ก (1)
- ดนตรี (2)
- เด็กกินยาก (1)
- เด็กติดเกม (1)
- เด็กวัยเรียน (2)
- โดเรมอน (1)
- ตั้งโต๊ะกินข้าว (1)
- ตา (1)
- ทอนชิลอักเสบ (1)
- เทคนิคสอนลูกให้รักการอ่าน (1)
- ธาลัสซีเมีย (1)
- นมแม่ (2)
- นาฬิกา (1)
- นิทานก่อนนอน (1)
- บวกเลข (9)
- บวกเลข 2 หลัก (2)
- แบบฝึก (24)
- ใบงาน (17)
- ปฐมวัย (4)
- ประถม (24)
- ปวดท้อง (1)
- ปานแต่กำเนิด (1)
- เปรียบเทียบเศษส่วน (1)
- ผลสอบ (1)
- พว. (1)
- พัฒนาการ (31)
- พื้นที่ (1)
- พูดช้า (1)
- เพลงกล่อมเด็ก (1)
- เพลง Classic (1)
- ภาพระบายสี (1)
- ภาวะบกพร่องในทักษะการเรียน (3)
- ภาษาอังกฤษ (3)
- ม.4 (1)
- มหิดลวิทยานุสรณ์ (1)
- ไม่ยอมไปโรงเรียน (1)
- ร้องไห้ 3 เดือน (1)
- รักการอ่าน (1)
- โรคติดเชื้อ (1)
- โรคในเด็ก (7)
- โรคลมชัก (1)
- โรคหัวใจ (1)
- เลข 3 หลัก (1)
- เลิกขวดนม (1)
- เลี้ยงลูกให้มี E.Q.สูง (3)
- วัคซีน (3)
- วิทยาศาสตร์ (3)
- เวลา (1)
- ศิริราช (1)
- ศิลปะ (1)
- เศษส่วน (4)
- สมองดี (1)
- สมาธิสั้น (2)
- สี่เหลี่ยม (1)
- สุขภาพ (13)
- สุขภาพเด็ก (19)
- หนังสือ (1)
- หมู่โลหิต (1)
- อนุกรม (2)
- อนุบาล (13)
- อนุบาล 3 (5)
- อีโบลา (1)
- english (3)
- kids (7)
- LD (1)
- math (28)
- math3year (2)
- mathgame (6)
- mathtest (17)
- music (3)
- worksheet (31)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น