4 กันยายน 2556
สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
สร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
ความสัมพันธ์ระหว่างคน 2 คน ซึ่งอาจเป็นระหว่างคนในครอบครัวเดียวกัน เช่น สามีกับภรรยา แม่กับลูก
พี่กับน้อง หรืออาจเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน เพื่อนนักเรียนนั้น
คนส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน มีความรักความเข้าใจกัน
ช่วยเหลือกันในเรื่องต่าง ๆ แต่บางครั้งการสร้างสัมพันธภาพ
หรือการรักษาสัมพันธภาพให้ยืนยาวกลับไม่เป็นไปตามความตั้งใจเริ่มแรก
ได้รับผลที่ไม่อยากได้ กลายเป็นมีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน
เกิดความขัดแย้งกันรุนแรงจนถึงขึ้นแตกหักได้นั้น เป็นเพราะมีปัจจัยต่าง ๆ
ที่ส่งเสริมให้มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ในทางตรงข้ามก็มีปัจจัยต่าง ๆ
ที่ทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงเรื่อย ๆ จนถึงขั้นทะเลาะเบาะแว้งกันได้
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกันมี 3 ปัจจัยใหญ่ คือ
1. การชมเชยหรือชื่นชมที่เหมาะสม
2. การติเพื่อก่อ
3. การแก้ไขความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์
การชมเชยหรือชื่นชม
คนส่วนใหญ่ไม่ว่าจะอยู่ในครอบคัวหรืออยู่ในสังคมภายนอกครอบครัว มักจะไม่ค่อยชื่นชมหรือชมเชยกัน ในหลายครอบคัวพ่อแม่มีความเชื่อว่าถ้าชมลูกบ่อย ๆ เด็กจะเหลิง อาจกลายเป็นคนไม่ดีได้ ทำให้พ่อแม่ไม่ชมเมื่อลูกกระทำสิ่งที่ดีหรือมีพฤติกรรมในลักษณะที่เป็นสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือทำให้เด็กขาดกำลังใจ ขาดน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจ การติดต่อสื่อสารที่ตรงและได้ผลดีมากก็คือคำพูด ซึ่งจะดีกว่าภาษากายหรือการแสดงออกแล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งเดาใจหรือเข้าใจได้เอง
คนเราโดยทั่วไปต้องการคำชมเชย โดยการชมเชยที่จะสร้างเสริมสัมพันธภาพให้ดีควรมีลักษณะดังนี้
- ชมพฤติกรรมที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ
- การชมความเน้นที่พฤติกรรมที่ทำได้ดี และชมทีละ 1 พฤติกรรม
- บอกความรู้สึกของเราต่อพฤติกรรมนั้นอย่างจริงใจ
- ชมเฉพาะสิ่งที่ควรชม
- ไม่ชมมากเกินกว่าความเป็นจริง
ตัวอย่าง เช่น
ลูกหรือพ่อ บอกกับแม่ว่า “วันนี้ แม่ทำกับข้าวอร่อยมาก ทำให้รับประทานอาหารได้มากและรู้สึกมีความสุข และภูมิใจที่มีคุณแม่ทำกับเข้าวอร่อย” แม่บอกับลูกว่า “วันนี้ แม่รู้สึกภูมิใจที่ลูกช่วยล้างชามในตอนเย็นได้สะอาดเรียบร้อยดีมาก โดยที่แม่ไม่ต้องเรียกให้ทำ”การติเพื่อก่อ
คนส่วนใหญ่ ไม่ชอบฟังคำติ การติติงที่ไม่เหมาะสมมักจะทำให้เกิดผลเสียหายตามมา เช่น เกิดการทะเลาะกันได้ แต่การติในเชิงสร้างสรรค์ก็มี
ประโยชน์ และสามารถเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีได้ การติในเชิงสร้างสรรค์ ควรมีลักษณะดังนี้
- ต้องแน่ใจว่า เขาสนใจที่จะรับฟังคำติ และพร้อมที่จะรับฟัง
- เรื่องที่จะติ ต้องเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่ใช่เกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว
- สิ่งที่จะติ ต้องเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้
- พูดถึงพฤติกรรมที่ติให้ชัดเจน เป็นรูปธรรม
- บอกทางแก้ไขไว้ด้วย เช่น ควรทำอย่างไรให้ดีขึ้น
- รักษาหน้าของผู้รับคำติเสมอ เช่น ไม่สมควรติต่อหน้าคนอื่น
- เลือกเวลาและจังหวะที่เหมาะสม เช่น ผู้รับคำติมีอารมณ์สงบหรือแจ่มใส ไม่ติในช่วงที่มีอารมณ์โกรธ
ตัวอย่าง เช่น
พ่อหรือแม่ติลูกวัยรุ่นในขณะที่ลูกมีอารมณ์สงบ พร้อมที่จะรับฟังว่าลูกพูดคุยโทรศัพท์กับเพื่อนนานวันละ 3 ชั่วโมงในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้ เป็นการกระทำที่พ่อแม่ไม่เห็นด้วย ควรปรับลดเวลาการคุยลงให้เหลือวันละ ½ -1 ชั่วโมง เพื่อที่จะได้มีเวลาทำการบ้าน อ่านหนังสือหรือนอนหลับพักผ่อนได้เพียงพอ
ตัวอย่างการสนทนา
แม่บอกกับลูกว่า “วันนี้ลูกคุยโทรศัพท์กับเพื่อนมานาน 2 ชั่วโมงแล้ว แม่คิดว่าลูกควรหยุดคุยโทรศัพท์ได้แล้ว และหันมาทำการบ้าน อ่านหนังสือ แล้วเข้านอน จะดีกว่าที่เป็นอยู่นี้”
การแก้ไขความขัดแย้งในเชิงสร้างสรรค์ ควรเป็นไปในลักษณะดังต่อไปนี้
- แสดงความปรารถนาอย่างแน่วแน่ที่จะร่วมกันรักษาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันไว้
- มุ่งมั่นเชิงสร้างสรรค์ เป็นไปในทางการปรึกษากัน
- ให้ความสำคัญ และตั้งใจฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง
- แสดงความคิดเห็นของเราให้ชัดเจนและสื่อสารให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับทราบ
- ไม่ถือว่าการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นเรื่องแพ้หรือเป็นเรื่องที่เสียหาย
- ยอมรับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
- หลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ ขู่ คุกคาม ดื้อรั้น
- ช่วยกันเลือกหาทางออกที่ยอมรับได้ทั้ง 2 ฝ่าย
ตัวอย่าง การแก้ไขความขัดแย้งระหว่างคู่สมรส
คู่สมรสทั้ง 2 คนจะต้องเปิดใจรับฟังกันก่อนโดยการพูดทีละคน และรับฟังกันโดยพูดให้จบประโยคหรือจบประเด็นทีละคน และรับฟังให้เข้าใจว่าอีกคนตั้งใจจะสื่ออะไรให้ทราบ ถ้าฝ่ายหนึ่งพูดแทรกในขณะที่อีกคนพูดไม่จบประเด็น ก็จะทำให้สื่อสารกันไม่ได้ ถ้าคนหนึ่งหรือทั้ง 2 คน โกรธ โมโห ข่มขู่ ก็จะยิ่งทำให้ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งได้ ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ พยายามพูดคุยกันด้วยอารมณ์ที่สงบ และตั้งใจฟังความคิดเห็นของอีกฝ่ายหนึ่ง ในท้ายที่สุดจึงช่วยกันเลือกหรือตัดสินใจมองหาทางออกที่ทั้งคู่ยอมรับได้
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
ที่มา ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
Faculty ofMedicine Siriraj Hospital
Faculty of
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รู้จักพวกเรา
แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก
From January 2, 2013 |
ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้
Blog Archive
บทความที่ได้รับความนิยม
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดที่ 1 นี้เป็นการ บวกเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,9 กับเลขหลักเดียวอื่น ๆ เหมาะกับเด็ก อ...
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดนี้เป็นชุดที่ 7 การบวกทั้งแบบมีการทดและ ไม่มีการทด ของเลข 2 หลัก ชุดละ 40 ข้อ...
-
แบบฝึกการคูณ คณิตศาสตร์ ประถม แบบฝึกการคูณ ชุดที่1 แบบฝึกการคูณ ชุดที่2 แบบฝึกการคูณ ชุดที่3 แบบฝึกการคูณ ชุดที่4 แบบฝึกการคูณ ชุดที...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
Labels
- 2557 (1)
- 3to7 (7)
- 6-12 ปี (1)
- 6Q (1)
- 7to9 (12)
- กรดไขมัน (1)
- การเขียน Essay (1)
- การคูณ (4)
- การดูแลฟันของลูก (2)
- การทดลองวิทยาศาสตร์ (4)
- การบวก (1)
- การบวกเศษส่วน (1)
- การบีบน้ำนมแม่ (1)
- การลบเลข 1หลัก (1)
- การล้างจมูก (2)
- การล้างมือ (1)
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (7)
- การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี (25)
- การเลี้ยงลูกวัยเรียน (31)
- การวัด (1)
- การหาร (4)
- เกมคณิตศาสตร์ (5)
- เกมเจ้าสีหาพวก (1)
- เกมพัฒนาสมองลูก (16)
- เกมแม่บอกทาง (1)
- เกมสร้างเสริมพัฒนาการ (19)
- เกมหาคำคล้องจอง (1)
- ข้อสอบคณิตศาสตร์ (2)
- ข้อสอบ ป.1 (2)
- ข้อสอบ ป.2 (1)
- คณิตคิดเร็ว (28)
- คณิตศาสตร์ (32)
- ความยาวรอบรูป (1)
- ความสัมพันธ์ (8)
- คออักเสบ (1)
- จตุรัสกล (1)
- โจทย์ปัญหา (1)
- เฉลย (2)
- ช่องปาก (1)
- ไซนัสอักเสบในเด็ก (1)
- ดนตรี (2)
- เด็กกินยาก (1)
- เด็กติดเกม (1)
- เด็กวัยเรียน (2)
- โดเรมอน (1)
- ตั้งโต๊ะกินข้าว (1)
- ตา (1)
- ทอนชิลอักเสบ (1)
- เทคนิคสอนลูกให้รักการอ่าน (1)
- ธาลัสซีเมีย (1)
- นมแม่ (2)
- นาฬิกา (1)
- นิทานก่อนนอน (1)
- บวกเลข (9)
- บวกเลข 2 หลัก (2)
- แบบฝึก (24)
- ใบงาน (17)
- ปฐมวัย (4)
- ประถม (24)
- ปวดท้อง (1)
- ปานแต่กำเนิด (1)
- เปรียบเทียบเศษส่วน (1)
- ผลสอบ (1)
- พว. (1)
- พัฒนาการ (31)
- พื้นที่ (1)
- พูดช้า (1)
- เพลงกล่อมเด็ก (1)
- เพลง Classic (1)
- ภาพระบายสี (1)
- ภาวะบกพร่องในทักษะการเรียน (3)
- ภาษาอังกฤษ (3)
- ม.4 (1)
- มหิดลวิทยานุสรณ์ (1)
- ไม่ยอมไปโรงเรียน (1)
- ร้องไห้ 3 เดือน (1)
- รักการอ่าน (1)
- โรคติดเชื้อ (1)
- โรคในเด็ก (7)
- โรคลมชัก (1)
- โรคหัวใจ (1)
- เลข 3 หลัก (1)
- เลิกขวดนม (1)
- เลี้ยงลูกให้มี E.Q.สูง (3)
- วัคซีน (3)
- วิทยาศาสตร์ (3)
- เวลา (1)
- ศิริราช (1)
- ศิลปะ (1)
- เศษส่วน (4)
- สมองดี (1)
- สมาธิสั้น (2)
- สี่เหลี่ยม (1)
- สุขภาพ (13)
- สุขภาพเด็ก (19)
- หนังสือ (1)
- หมู่โลหิต (1)
- อนุกรม (2)
- อนุบาล (13)
- อนุบาล 3 (5)
- อีโบลา (1)
- english (3)
- kids (7)
- LD (1)
- math (28)
- math3year (2)
- mathgame (6)
- mathtest (17)
- music (3)
- worksheet (31)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น