26 กุมภาพันธ์ 2556
การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี
ปีนี้น้องมิเชลจะเข้า ป.1 ที่โรงเรียนเดียวกับพี่ชาย 2 คนแล้ว แต่จำนวนเด็กมาสมัครมากจึงมีการหยิบฉลาก พี่นีโอไปช่วยลุ้นน้องด้วยในวันที่หยิบฉลาก เพราะพี่นีโอมีประสบการณ์หยิบฉลากมาแล้วตอน ป.1 วันนั้นได้คิวแถวสุดท้าย หม่ามี้ พี่นีโอ น้องมิเชล ลุ้นระทึกมาก ผลปรากฎว่าน้องหยิบได้ มีคนเคยพูดว่าเดี๋ยวพอลูกๆ เข้าประถมกันหมดแม่ก็จะหายเหนื่อยเอง แต่หม่ามี้มีความรู้สึกว่ามันมีความเหนื่อยอีกแบบนึงเข้ามาอีก หน้าที่ของพ่อแม่นั้นไม่สิ้นสุดและเป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่นัก และมีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กในทุกๆด้าน เรามาดูความสำคัญของเด็กในวัยนี้กัน
การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี
วัยเรียนอายุ 6-12 ปี คือ ช่วงที่เด็กเรียนหนังสือในช่วงชั้นประถมศึกษา จากเดิมที่เด็กใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน แต่เด็กในวัยนี้จะใช้เวลาเต็มวันอยู่ที่โรงเรียน จึงเป็นการออกสู่สังคมภายนอกอย่างจริงจัง เด็กจะได้เรียนรู้ในทุกๆด้าน โดยเฉพาะการปรับตัวที่โรงเรียน ทั้งเรื่อการเรียนการอยู่ในกฎระเบียบ การทำให้ครูพึงพอใจ ความสัมพันธ์กับเพื่อน จะมีพัฒนาการที่รวดเร็วทั้งร่างกาย จิตใจ ความคิด การใช้ภาษา มีพัฒนาการของตนเอง เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคงในสังคม โดยจะถูกประคับประคองน้อยลงจากวัยอนุบาล
การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
ด้านร่างกาย
ช่วงอายุ 6-12 ปี ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงและมีความสามารถเพิ่มขึ้นหลายด้าน
เด็กจะใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ได้ดี
เช่นเตะฟุตบอลได้มั่นคง
ชอบการเคลื่อนไหวมากกว่าที่จะอยู่เฉยโดยเฉพาะเด็กผู้ชาย เรียนรู้และพัฒนาความสามารถผ่านการเล่น
เช่น เล่นไล่จับ ซ่อนหา จระเข้ไล่จับ หรือเล่นกีฬาประเภทต่างๆ เช่นว่ายน้ำ ปิงปอง
บาสเกตบอล หมากฮอส เป็นต้น
ในวัยนี้กล้ามเนื้อมัดเล็กใช้งานได้ดี
สามารถใช้มือและนิ้วควบคุมการเคลื่อนไหวของดินสอได้อย่างละเอียดอ่อนมากขึ้นเรื่อยๆ
จนสามารถวาดรูปเรขาคณิต ได้ทั้งสี่เหลียม สามเหลี่ยม รูปเพชร หรือรูปที่ซับซ้อนขึ้น
วาดรูปคนที่มีอวัยวะครบ การประสานงานของระบบประสาทและการเคลื่อนไหวทำงานสอดคล้องได้เป็นอย่างดี
ซึ่งเป็นการประสานการทำงานระหว่างมือ ตา
และการเคลื่อนไหวของร่างกายไปพร้อมกันทำให้วัยนี้มีการพัฒนาทักษะทางกีฬาได้ดีขึ้น
เมื่อถึงตอนปลายของวัยเรียนเข้าใกล้วัยรุ่นในช่วงประถมศึกษาปีที่ 6 ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก
ช่วงนี้เด็กหญิงจะมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเด็กชาย
เพราะมีการทำงานของฮอร์โมนประจำเพศเกิดขึ้น เช่นเด็กหญิงอาจมีการเติบโตขึ้นของเต้านม
มีขนขึ้นที่บริเวณหัวเหน่าและมีประจำเดือน
ส่วนเด็กชายก็อาจมีเสียงแตกห้าว มีหนวดเครา ขนรักแร้ ขนที่อวัยวะเพศ ตัวสูงขึ้น
แขนขายาว เป็นต้น ระบบกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และเล็ก การเคลื่อนไหวต่างๆ
มีการพัฒนาการมากขึ้น
การส่งเสริมให้ร่างกายหลายส่วนทำงานคล่องแคล่ว
ประสานกัน ต้องอาศัยการฝึกฝนผ่านการทำกิจกรรมทั้งงานบ้าน การกีฬา การใช้ชีวิต
ซึ่งจะไปส่งเสริมให้เด็กกระฉับกระเฉง หูไว ตาไว สมาธิดี ประสาทต่างๆ
ทำงานได้รวดเร็ว
ด้านจิตใจและการเข้าสังคม
การที่เด็กจะอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้ดี
จะต้องมาจากรากฐานครอบครัวที่มีความรัก เอื้ออาทร มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ความรู้สึกว่ามีคนรัก
ห่วงใยและมีผู้ที่จะเดินเคียงข้าง ช่วยเหลือในยามที่ต้องการเมื่อประสบกับปัญหา
ชื่นชมความดีในความสามารถของเด็กแต่ละคนอย่างเหมาะสม เป็นหนทางที่ช่วยให้เด็ก
มีความรู้สึกดีต่อตนเอง เชื่อมั่นในความสามารถของตนเอง มีอารมณ์มั่นคง ภาคภูมิใจในตนเอง มีทัศนคติที่ดีต่อผู้อื่น
ถ้าสังคมแรกของเด็ก
คือการอยู่ร่วมในครอบครัวมีปัญหาเสียแล้ว ก็ส่งผลทำให้การปรับตัวกับญาติพี่น้อง
เพื่อนในโรงเรียน ครู มีปัญหาตามมาได้
ช่วงวัยประถมเป็นวัยแห่งความอุตสาหพยายาม
คือ เป็นวัยที่เด็กอดทนฝึกฝนพัฒนาความสามารถในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้น
การไปโรงเรียนเรียนรู้วิชาต่างๆ หัดอ่านและเขียนหนังสือ เล่นกีฬา งานอดิเรก เข้าร่วมทำกิจกรรมอันหลากหลายได้สร้างสรรค์งานที่ทำให้เขาเกิดความพึงพอใจขึ้นหลายชิ้น
จนกลายเป็นความสามารถ และรู้สึกภูมิใจว่าตนเองทำอะไรได้ แต่ในทางตรงข้ามถ้าเด็กวัยนี้ได้รับประสบการณ์
ของความสำเร็จน้อยเกินไปเด็กจะเกิดความรู้สึกด้อย
คือรู้สึกว่าความพยายามของเขานั้นไม่เป็นผลและตัวเขาเองเป็นคนที่ไร้ประโยชน์
การที่โลกของเด็กในชั้นประถมเปิดกว้างขึ้น จากการเรียนรู้ภายในบ้าน ครอบครัว
รั้วโรงเรียนอนุบาล
ขยายสู่การเรียนรู้ในโรงเรียนประถม และโลกแห่งความเป็นจริง
สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก ในวัยนี้ล้วนเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยให้เด็กสะสมประสบการณ์
ชีวิต รากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การเรียนรู้คือ ร่างกายที่แข็งแรง
อารมณ์และจิตใจที่ร่าเริง และต้องมีการฝึกฝนทักษะต่างๆ อย่างมีขั้นตอนเป็นลำดับจากง่ายไปยาก
เด็กสามารถเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงและจากสภาพแวดล้อม เด็กจึงต้องการแบบอย่างที่ดี
จากบุคลรอบข้างเพื่อนำมาพัฒนาตนเอง
การที่เด็กจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อยู่
ดี มีสุขได้ ไม่ได้หมายความว่าจะต้องได้รับประสบการณ์ชีวิตที่ดี ที่พอใจตลอดเวลา
ตรงกันข้ามความรู้สึกไม่พอใจ ที่เหมาะสมกับวัย
เป็นอีกสิ่งหนึ่งช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ ปรับตัวและแก้ปัญหา
อีกทั้งยังเป็นการเติมความเข็มแข็ง ให้กับชีวิตของเด็ก
การสอนเด็กวัยประถมต้นนั้น
สามารถพูดคุยอธิบายเหตุผลได้มากขึ้นกว่าวัยอนุบาล แต่ยังมีข้อจำกัดในการรับรู้
ในช่วงแรกต้องใช้วิธีทำงานไปด้วยกัน หรือควบคุมให้เด็กได้ทำในสิ่งที่สมควร
จนเด็กทำได้เองเป็นนิสัย เช่นเมื่อเห็นเด็กจุดไฟเล่น ต้องห้ามเด็ดขาดไม่ให้เล่นไฟ
ท่าทีที่แสดงออกต้องชัดเจนว่าไม่ยอมให้เล่น พูดถึงภัยที่อาจเกิดขึ้นต่อการเล่นไฟ เขาจำเข้าใจเหตุผลจากคำพูดได้
แต่ถ้าเด็กยังควบคุมตัวเองไม่ได้
ต้องหยุดเด็กด้วยวิธีต่างๆที่เหมาะสม
และหากิจกรรมอื่นมาให้ทำทดแทน เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจไปจากการเล่นไฟ
ฝึกฝนสม่ำเสมอสุดท้ายเด็กจะเรียนรู้ขอบเขตจากการเล่นไฟได้
การฝึกฝนจึงต้องอาศัยความรัก
ความเข้าใจ ความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อเป็นสายใยสำคัญจูงใจให้เด็กเชื่อฟังและทำตาม
ใช้ความเอาใจใส่ ใช้ความหนักแน่นและฝึกฝนสม่ำเสมอ อดทนคงกติกาให้ชัดเจน ชักจูงโน้มมน้าว
ให้ลูกเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่ไม่เหมาะสม
ตามบรรทัดฐานของครอบครัวและสังคมไปสู่ความเหมาะสม และเสริมแรงจูงใจด้วยการชมเชย ให้รางวัลตามสมควรแก่พฤติกรรม
ที่เด็กประพฤติดีอยู่แล้ว เพื่อให้เด็กคงพฤติกรรมที่ดีนั้นไว้อย่างต่อเนื่อง
ด้านอารมณ์
การให้เด็กวัยเรียนรู้จักกับทุกอารมณ์
ความรู้สึกที่ผ่านเข้ามาและช่วยให้เขาสามารถหาทางออกที่เหมาะสม
เพื่อเป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหา
ควรส่งเสริมให้เด็กวัยนี้ ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
และปรับตัวในสังคมอย่างเหมาะสม
โดยฝึกฝนแนะนำ ให้คำชมเมือเด็กทำได้ดี และแก้ไขชักจูง
แนะนำเมื่อเด็กทำตัวไม่เหมาะสม
จะเป็นการสร้างเสริมความฉลาดทางอารมณ์ ที่เรารู้จักกันดีในนามของอีคิว
ซึ่งเป็นทักษะหรือศิลปะในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
การชี้ให้เด็กเห็นถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคล
มองข้ามความไม่ถูกใจ ชี้ให้เห็นข้อดีของคนอื่น
การแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสม
เรียนรู้เรื่องความมีน้ำใจ เป็นนักกีฬารู้จักแพ้ รู้จักผิดหวัง และรู้จักหาทางขจัดดความรู้สึกผิดหวังไม่ให้มีมากหรือนานเกินไป
พยายามทำใหม่ในครั้งต่อไป จะเป็นการเสริมสร้างทักษะของการควบคุมอารมณ์ ความรู้สึก
การแก้ปัญหาหรือหาทางออก และการปรับตัว
ซึ่งจะเป็นฐานให้แก้ปัญหาที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น
การเตรียมตัวลูกให้ปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พ่อแม่เองก็ควรปรับตัว
ปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงและการฝึกฝนเช่นกัน ให้ทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม
การช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น
เด็กวัยเรียนควรรับผิดชอบเรื่องส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่
และรับผิดชอบงานส่วนรวมเป็นบางส่วน เช่น
งานบ้าน งานส่วนรวมในห้องเรียน เป็นต้น ฝึกให้เด็กช่วยตัวเองมากที่สุด
เช่นอาบน้ำแต่งตัว กินอาหาร จัดกระเป๋าานักเรียน การฝึกอย่างสม่ำเสมอ
จะเป็นพื้นฐานการสร้างวินัยในตนเอง จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบในหน้าที่
และยังเป็นการฝึกบริหารเวลาและชีวิต ฝึกทักษะการแก้ปัญหาง่ายๆ ให้กับตัวเองตั้งแต่ยังเล็ก
กิจกรรมที่เด็กสามารถช่วยเหลืองานส่วนรวม
เช่น จัดโต๊ะอาหาร กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างถ้วยชาม เก็บโต๊ะกินข้าว
นอกจากจะพัฒนาความรับผิดชอบ
ความช่างสังเกต ความละเอียดรอบคอบแล้ว
ยังฝึกความมีน้ำใจจช่วยเหลือเผื่อแผ่ผู้อื่น การที่ทำงานร่วมกับผู้ใหญ่
เด็กจะซึมซับการกระทำ วิธีคิด ค่านิยม
ทัศนคติ ตลอดจนธำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง
ได้โดยไม่รู้ตัว
ด้านการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งที่โรงเรียน
ที่บ้านและจากประสบการณ์ต่างๆที่เด็กได้สัมผัสจริง
เด็กวัยเรียนสามารถ ที่จะมองเหตุการณ์ต่างๆ ในภาพรวมแล้วมองดูรายละเอียดปลีกย่อย ต่างๆ รวมทั้งเลือกที่จะเพ่งความสนใจ
ไปยังส่วนย่อยจุดใดจุดหนึ่งได้
เด็กสามารถเข้าใจว่า
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของวัตถุไม่ได้หมายความว่าปริมาณของวัตถุจะต้องเปลี่ยนแลงไปด้วย
กล่าวง่ายๆก็คือ เด็กจะมีความคิดเรื่องความคงที่ของวัตถุ ต่อความเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ในวัยอนุบาลยังไม่มีความคิดเรื่องความคงที่ไม่เข้าใจว่าปริมาณของของเหลวในภาชนะที่ผอมสูงจะเท่ากับของเหลวในภาชนะกว้างเตี้ยไปได้อย่างไร
แต่เด็กวัยเรียนจะสามารถเข้าใจได้ว่า ปริมาณของของเหลวเหล่านั้นไม่เปลี่ยนแปลงไปเลย
ถ้ามีการเทของเหลวจากภาชนะใบหนึ่งไปยังอีกใบหนึ่ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ
เด็กสามารถบูรณาการมิติต่างๆเข้าด้วยกัน
เข้าใจว่าสิ่งต่างๆนั้นสามารถทดแทนกันได้
เด็กวัยเรียนสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้
เช่นถ้าต้อมสูงกว่าอ๊อดและอ๊อดสูงกว่ากบ เด็กจะสรุปได้ว่า ต้อมสูงกว่ากบ กล่าวคือเด็กจะสามารถอนุมานความสัมพันธ์
ของสรรพสิ่งต่างๆ ขึ้นจากความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว สิ่งนี้เป็นขั้นตอนสำคัญ
ของความคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล และความสามารถในการเข้าใจความสัมพันธ์ของตัวตน
ต่อโลกกว้าง
สามารถคิดในมุมกลับได้
เช่น ถ้าเราทุบดินน้ำมันจากก้อนกลมให้แบน เราก็สามารถปั้นให้มันกลับมาเป็นก้อนกลมได้
ถ้าเราปั้นให้มันยาว เราก็สามารถทุบมันให้กลับมาสั้นได้ กระบวนการนี้สามารถทำความเข้าใจ
ทั้งในแบบที่สามารถ เห็นได้ด้วยตา หรือแม้แต่คิดในใจเด็กก็คิดได้ ซึ่งกระบวนการที่เด็กคิดกลับไปกลับมาในใจได้นั้น
จะเป็นย่างก้าวที่สำคัญ ของการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เช่น รู้ว่าการลบจะตรงข้ามกับการบวก
หรือการหารจะตรงข้ามกับการคูณ
เด็กวัยเรียนรู้จักแยกของออกเป็นกลุ่มๆ
เช่น แสตมป์ ตุ๊กตา หุ่นยนต์
ความสามารถแยกของเป็นหมวดหมู่นี้จะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นเมื่อเด็กเติบโตขึ้นและทำได้ละเอียดขึ้น ทั้งเรื่องบุคคล สถานที่ ความคิดและสิ่งของ
นอกจากนี้เด็กยังเข้าใจ ระดับหรือความรุนแรงมากน้อยของเรื่องต่างๆ เช่นระดับของความเจ็บป่วย
การคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลทำได้เพิ่มขึ้น
ความเชื่อในเรื่องสิ่งวิเศษต่างๆ น้อยลง
ในระยะนี้
ความคิดของเด็ก จึงยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
คิดและมองโลกในมุมมองของคนอื่นได้มากขึ้น เข้าใจ ความรู้สึกของคนอื่น และทำให้ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ดี
เด็กวัยเรียนจะรับรู้เรื่องร่างกายและการทำงานของร่างกายเพิ่มมากขึ้น รู้ว่าหัวใจเต้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย
และตัวเขาเองต้องหายใจอยู่ตลอดเวลา
เชื้อโรคนั้นมีจริงและทำให้เกิดโรคได้ การหยีตาทำให้มองเห็นชัดเจนขึ้น ถ้าวิดพื้นบ่อยๆ กล้ามเนื้อแขนจะโต
แต่ถ้าทิ้งไว้ไม่วิดพื้นกล้ามเนื้อจะลีบลง
นอกจากนี้เด็กยังเรียนรู้เรื่องรอบตัวไปจนถึงเรื่องโลกและอวกาศ
เรื่องสภาวะไร้น้ำหนัก
หรือการเดินทางระหว่างดวงดาว
เข้าใจในเรื่องเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต และความสัมพันธ์ระหว่างช่วงเวลาต่างๆ
รู้ว่าโลกนี้มีมาก่อนเขาเกิดนับล้านปีและโลกจะดำเนินเช่นนี้ต่อไป
อ่านเวลาในปัจจุบันได้ รวมทั้งสามารถจัดตารางเวลา ของตัวเขาเอง เช่น
การจัดตารางสอน ตารางทำการบ้าน และอ่านหนังสือ รู้จักความแตกต่างระหว่างอายุ เช่น
ปู่คือ พ่อของพ่อ
และถ้าเป็นเช่นนี้ปู่ย่อมมีอายุมากกว่าพ่อ เป็นต้น
พัฒนาการทางด้านจริยธรรมของเด็กขี้นอยู่กับประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากคนทั้งในและนอกบ้าน
ความเชื่อเรื่องผิดถูก จะได้รับการปรับเปลี่ยนขัดเกลาจนมีลักษณะที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
เด็กจะรู้จักมองคนอย่างลึกซึ้ง โดยเฉพาะที่เจตนาของบุคคลนั้น
รวมทั้งสามารถเข้าใจบริบทของเหตุการณ์ คือเรื่องเดียวกันแต่ต่างสถานการณ์
ก็อาจตัดสินถูกผิดแตกต่างกันออกไปก็ได้
เมื่อเด็กเรียนรู้ที่อยู่ในกติกาต่างๆ
และปฏิบัติจนเกิดความเคยชินจึงค่อยสอนในเรื่องของความยืดหยุ่น
และความแตกต่าง เช่น
เด็กวัยประถมโดยเฉพาะวัยประถมต้นมักไม่สามารถแยกแยะระหว่างโกหกเพื่อผลประโยชน์
กับการโกหกที่ไม่มีเจตนาร้ายต่อใคร แต่อาจโกหกเพื่อรักษาความรู้สึกของบุคคลอื่น
สำหรับเด็กแล้วโกหกก็คือโกหก
กลุ่มเพื่อนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการทางด้านจริยธรรมของเด็ก
เรียนรู้ว่าควรเล่นอย่างไร และจะทำอย่างไรจึงจะเข้ากับคนอื่นได้ กฎเกณฑ์คืออะไร
ต้องหัดเจรจาต่อรองเพื่อให้สิ่งที่ตัวเองคิดได้รับการยอมรับ ครูก็เช่นกันมีส่วนขัดเกลาความสามารถในการตัดสินใจเรื่องถูกผิดของเด็ก
ครูและผู้ปกครองที่มีลักษณะแข็งกระด้างและไม่ยืดหยุ่นอาจทำให้เด็กไม่สามารถพัฒนาจริยธรรมจากระยะต้นไปสู่ระยะต่อไปได้
ที่มา คู่มือการเลี้ยงลูก ตอน วัย 6-12 ปี พญ. วินัดดา ปิยะศิลป์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์
ป้ายกำกับ:
การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี,
พัฒนาการ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รู้จักพวกเรา
แจก แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบทดสอบ แบ่งปัน สำหรับเพื่อน วัยเด็ก
From January 2, 2013 |
ค้นหา เนื้อหาใน Web นี้
Blog Archive
บทความที่ได้รับความนิยม
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดที่ 1 นี้เป็นการ บวกเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,9 กับเลขหลักเดียวอื่น ๆ เหมาะกับเด็ก อ...
-
แจกแบบฝึกคณิตศาสตร์ เป็น WorkSheet สำหรับให้เด็ก ๆ ฝึกทำ ชุดนี้เป็นชุดที่ 7 การบวกทั้งแบบมีการทดและ ไม่มีการทด ของเลข 2 หลัก ชุดละ 40 ข้อ...
-
แบบฝึกการคูณ คณิตศาสตร์ ประถม แบบฝึกการคูณ ชุดที่1 แบบฝึกการคูณ ชุดที่2 แบบฝึกการคูณ ชุดที่3 แบบฝึกการคูณ ชุดที่4 แบบฝึกการคูณ ชุดที...
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
Labels
- 2557 (1)
- 3to7 (7)
- 6-12 ปี (1)
- 6Q (1)
- 7to9 (12)
- กรดไขมัน (1)
- การเขียน Essay (1)
- การคูณ (4)
- การดูแลฟันของลูก (2)
- การทดลองวิทยาศาสตร์ (4)
- การบวก (1)
- การบวกเศษส่วน (1)
- การบีบน้ำนมแม่ (1)
- การลบเลข 1หลัก (1)
- การล้างจมูก (2)
- การล้างมือ (1)
- การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (7)
- การเลี้ยงลูกวัย 6-12 ปี (25)
- การเลี้ยงลูกวัยเรียน (31)
- การวัด (1)
- การหาร (4)
- เกมคณิตศาสตร์ (5)
- เกมเจ้าสีหาพวก (1)
- เกมพัฒนาสมองลูก (16)
- เกมแม่บอกทาง (1)
- เกมสร้างเสริมพัฒนาการ (19)
- เกมหาคำคล้องจอง (1)
- ข้อสอบคณิตศาสตร์ (2)
- ข้อสอบ ป.1 (2)
- ข้อสอบ ป.2 (1)
- คณิตคิดเร็ว (28)
- คณิตศาสตร์ (32)
- ความยาวรอบรูป (1)
- ความสัมพันธ์ (8)
- คออักเสบ (1)
- จตุรัสกล (1)
- โจทย์ปัญหา (1)
- เฉลย (2)
- ช่องปาก (1)
- ไซนัสอักเสบในเด็ก (1)
- ดนตรี (2)
- เด็กกินยาก (1)
- เด็กติดเกม (1)
- เด็กวัยเรียน (2)
- โดเรมอน (1)
- ตั้งโต๊ะกินข้าว (1)
- ตา (1)
- ทอนชิลอักเสบ (1)
- เทคนิคสอนลูกให้รักการอ่าน (1)
- ธาลัสซีเมีย (1)
- นมแม่ (2)
- นาฬิกา (1)
- นิทานก่อนนอน (1)
- บวกเลข (9)
- บวกเลข 2 หลัก (2)
- แบบฝึก (24)
- ใบงาน (17)
- ปฐมวัย (4)
- ประถม (24)
- ปวดท้อง (1)
- ปานแต่กำเนิด (1)
- เปรียบเทียบเศษส่วน (1)
- ผลสอบ (1)
- พว. (1)
- พัฒนาการ (31)
- พื้นที่ (1)
- พูดช้า (1)
- เพลงกล่อมเด็ก (1)
- เพลง Classic (1)
- ภาพระบายสี (1)
- ภาวะบกพร่องในทักษะการเรียน (3)
- ภาษาอังกฤษ (3)
- ม.4 (1)
- มหิดลวิทยานุสรณ์ (1)
- ไม่ยอมไปโรงเรียน (1)
- ร้องไห้ 3 เดือน (1)
- รักการอ่าน (1)
- โรคติดเชื้อ (1)
- โรคในเด็ก (7)
- โรคลมชัก (1)
- โรคหัวใจ (1)
- เลข 3 หลัก (1)
- เลิกขวดนม (1)
- เลี้ยงลูกให้มี E.Q.สูง (3)
- วัคซีน (3)
- วิทยาศาสตร์ (3)
- เวลา (1)
- ศิริราช (1)
- ศิลปะ (1)
- เศษส่วน (4)
- สมองดี (1)
- สมาธิสั้น (2)
- สี่เหลี่ยม (1)
- สุขภาพ (13)
- สุขภาพเด็ก (19)
- หนังสือ (1)
- หมู่โลหิต (1)
- อนุกรม (2)
- อนุบาล (13)
- อนุบาล 3 (5)
- อีโบลา (1)
- english (3)
- kids (7)
- LD (1)
- math (28)
- math3year (2)
- mathgame (6)
- mathtest (17)
- music (3)
- worksheet (31)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น